Similar Posts
บริการวิชาการฯ เตรียมความพร้อมการติดตามผลการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัยฯ
รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์เน้นย้ำทุกกิจกรรมต้อง success พร้อมต้อนรับคณะกรรมการสภาฯและผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคณะทำงานงานบริการวิชาการฯ กำหนดลงพื้นที่ ชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี จัดเต็มผลการดำเนินงานพร้อมรับการตรวจเยี่ยม เมื่อเวลา 14.00 น. (14 พฤศจิกายน 2562) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดการประชุมเตรียมความพร้อมรับการติดตามผลการดำเนินงาน ในโครงการตามพระราโชบายด้านการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี ณ ห้องเฟื่องฟ้า ชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.กฤษณะ ทองแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมกิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งหัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้กล่าวว่า หลังจากที่ พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ได้เดินทางมาติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยฯ เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางสภามหาวิทยาลัยฯจึงมีกำหนดการติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าวในระหว่าง 27 – 29 พฤศจิกายน 2562 ทั้งนี้ กำหนดการในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562…
ทีมบริการวิชาการฯ พร้อม UBI ลงพื้นที่ หมู่ 10 ผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำพริกไตปลาแห้ง แกนนำหมู่บ้านพร้อมลุย เร่งตีตราแบรนด์ “ขุนเล”
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ – หัวหน้างานบริการฯสุดปลื้ม ชื่นชมชาวบ้านมีความพร้อมผลิตสินค้าน้ำมันเหลืองสมุนไพร – ไตปลาแห้งจำหน่ายเอง ดันสุดแรงอบรมเชิงปฏิบัติการให้สินค้ามีคุณภาพ ชูขึ้นห้างในอนาคต …..เมื่อเวลา 10.00 น. (13 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการิชาการ และผู้แทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยังร้านจำหน่ายธงฟ้าประชารัฐ หมู่ที่ 10 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าตามแผนในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยหมู่บ้านดังกล่าวได้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำพริกไตปลาแห้ง ซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำหมู่บ้าน …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงการดำเนินงานของชุมชน หมู่ที่ 10 ว่า การผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร และน้ำพริกไตปลาแห้ง ของหมู่ที่10 มีปัจจัยที่เอื้อต่อการทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ เช่น แกนนำที่มีศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร การรวมกลุ่มของชาวบ้านที่ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี มีความพร้อมทั้งวัตถุดิบจากธรรมชาติ และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานเป็นผลให้ การจัดจำหน่ายสินค้าภายในชุมชนสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับครัวเรือนได้อย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือการขยายแผนช่องทางการตลาด การทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้เหมาะสมกับสินค้าและสร้างแรงดึงดูดใจให้กับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการฯ ร่วมกับ UBI…
มรส. ร่วมกับสภาเกษตรกรเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยชุมชนบ้านต้นมะพร้าว
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางลงพื้นที่ไปยัง บ้านต้นมะพร้าว ต.ถ้ำสิงขร อ.คีรีรัฐนิคม เพื่อพบปะพูดคุยกับแกนนำของสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินบ้านต้นมะพร้าว นำโดยท่านสนิท ไชยะ ประธานสหกรณ์ และคุณณัฐติกานต์ พัฒนราช ผู้จัดการสหกรณ์ โดยเป็นไปตามโครงการความร่วมมือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี โดยวันนี้เป็นการรับฟังข้อมูลที่กลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยมาร่วมกันพัฒนา …..ทั้งนี้ทางกลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย เนื่องจากสหกรณ์ได้รับซื้อกล้วยจากสมาชิกเพื่อส่งให้กับ 7-11 และมีบางส่วนที่ต้องคัดออกเพราะไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องพัฒนาในด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมและทันสมัย นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการเพาะปลูกกล้วยตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ สอดคล้องกับการที่มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยที่แข็งแรง ซึ่งจะต้องพูดคุยกันเพื่อหาแนวทางร่วมกันต่อไป …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะรวมพลังกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยความตั้งใจเดียวที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการฯ เตรียมความพร้อม จัดประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยภาคใต้
มอ. เชื่อมั่น มรส.อลังการ ! เหมาะเป็นเจ้าภาพสถานที่ ประชุม – แถลงข่าว“การบริหารจัดการน้ำภาคใต้” ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เผย มรส.เป็นเจ้าภาพร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมเครือข่ายบริการวิชาการ ให้ไปเป็นตามเป้า หวังช่วยเหลือและแก้ปัญหาการจัดการน้ำในภาคอีสาน เมื่อเวลา 09.00 น. (22 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษา (ภาคใต้) ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตัวแทนจากสำนักจัดการทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ ตัวแทนฝ่ายสื่อสารองค์กร ตัวแทนศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมระดมความคิดจัดรูปแบบการต้อนรับและเตรียมสถานที่ในการประชุมและแถลงข่าว พร้อมทั้งเยี่ยมชมสถานที่ที่เป็นอัตลักษณ์ และขึ้นชื่อของมหาวิทยาลัย เนื่องจากมติที่ประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษา (ภาคใต้) มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลักษณ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นแม่ข่ายสำคัญที่จะสร้างโมเดลการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศ เพื่อนำโมเดลดังกล่าวไปใช้ในการจัดการน้ำในภาคอีสาน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในฐานะเจ้าภาพร่วมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูและและจัดเตรียมสถานที่ในการประชุมการบริหารจัดการน้ำภาคใต้ ในวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2560…
แข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โครงการ แข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย งบประมาณ 17,642 บาท สถานที่ดำเนินงาน ห้องปัจจักขภัติ ชั้น 3 คณะวิทยาการจัดการ ระยะเวลา 19 ส.ค. 56 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ อ.สินีนาฎ มุสิกะ 088-7613752
งานบริการวิชาการฯ มรส. จัดประชุมร่วมสภาเกษตรฯ หวังยกระดับผลิตภัณฑ์ตัว TOP ขึ้นห้าง
ด้านผู้แทนสำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี หวัง ราชภัฏสุราษฎร์ธานีช่วยเหลือเป็นกลไกยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิต เพราะมีทั้งศาสตร์และศิลป์พร้อมสรรพกำลังสามารถ improveได้เต็มที่ เมื่อเวลา 14.00 น. (30 มกราคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และการตลาดแก่องค์กรเกษตรกร ณ ห้องราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีฯ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานชุมชนภายนอกเข้าร่วมประชุมดังกล่าวด้วย เช่น รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้แทนจากสภาเกษตร และหน่วยงานจากสำนักงานพลังงานจังหวัดสุราษฎร์ธานีและผู้นำชุมชนจากอำเภอต่างๆ เช่น อำเภอท่าฉาง อำเภอไชยา อำเภอพุนพิน เป็นต้นสืบเนื่องจากสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สนับสนุนงบประมาณและบุคลากรในการพัฒนาต่อยอดคุณภาพผลิตภัณฑ์และขยายช่องทางการตลาดแก่กลุ่มองค์กรเกษตรกร ซึ่งมีกลุ่มแปรรูปกะปิ กลุ่มทำขนมพื้นบ้าน และกลุ่มทำน้ำพริกปลาย่าง ซึ่งทำจากพืชและสมุนไพรในท้องถิ่น ด้านคุณช่อทิพย์ วาณิชย์เจริญ ผู้แทนจากสำนักงานเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวว่า ทางกลุ่มองค์กรเกษตรกรได้ทำผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายและต้องการขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรแต่ยังขาดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์หีบห่อ การยืดอายุ และช่องทางการตลาด สภาเกษตรฯจึงตั้งความหวังและเชื่อมั่นองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นหน่วยงานแรกเพราะเคยร่วมงานและได้รับการช่วยเหลือในด้านต่างๆจากมหาวิทยาลัยมาหลายครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยฯไม่เคยปฏิเสธการช่วยเหลือและพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงทั้งศาสตร์และสรรพกำลังให้กับชุมชนท้องถิ่นเสมอ ขณะที่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี…