โครงการประชาสัมพันธ์
โครงการประชาสัมพันธ์
งบประมาณ
ระยะเวลา
การบูรณาการ
- การสอน –
- การวิจัย –
ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น 077-355683
โครงการประชาสัมพันธ์
งบประมาณ
ระยะเวลา
การบูรณาการ
ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น 077-355683
…..งัด! โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอกสัก – เกาะพลวย สนับสนุนยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายระยะ 20 ปี …..เมื่อเวลา 08.30 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดแสดงนิทรรศการในโครงการประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏกับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยโครงการฯดังกล่าวเป็นไปตามยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม […..ทั้งนี้ งานบริการวิชาการฯได้นำเอาผลงานในโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอกสัก – เกาะพะลวย ซึ่งเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น ด้วยการประชาสัมพันธ์สร้างเว็บไซต์ ให้ความรู้และสนับสนุนสินค้าของชุมชนท้องถิ่น พร้อมกันนี้ งานบริการวิชาการฯได้นำคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยว,จุลสารบริการวิชาการ และแผนที่แนะนำเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวมาแจกให้ผู้ที่เข้าชม นอกจากนี้ยังได้นำเอางานหัตถกรรมในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียงมาแสดงและจัดจำหน่ายอีกด้วย …..ด้าน ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้กล่าวถึงเจตนารมย์ของการจัดโครงการดังกล่าวว่า “การดำเนินงานในวันนี้มีประเด็นหลัก 3 ส่วน คือ 1. มีการประชุมของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ซึ่งเป็นงานที่ร่วมกันกับทุกฝ่ายโดยการมานำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ของการบริหารงานประเทศ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ…
ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น ร่วมกับอ.ธาตรี คำแหง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ในนามของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เข้าร่วมพิธีอัญเชิญดอกไม้จันทน์ตัวแทนของจังหวัดและอำเภอ ร่วมกับส่วนราชการภายใน จ.สุราษฎร์ธานี ณ หอประชุมครูลำยอง โรงเรียนสุราษฎร์ธานี เพื่อนำดอกไม้จันทน์ตัวแทนของจังหวัดส่งมอบให้กับกระทรวงมหาดไทย รวบรวมมอบให้กับกรุงเทพมหานคร เพื่อเชิญไปถวายที่หอเปลื้องพระเมรุมาศในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากนั้นในช่วงบ่าย ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับสำนักศิลปวัฒนธรรมในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานจัดพิธีถวายดอกไม้จันทน์ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อหารือแนวทางในการบริหารจัดการการจัดนิทรรศการและการจัดแสดงมหรสพ เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ศาลาการเปรียญวัดกลางใหม่ อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายให้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดออกแบบและจัดทำนิทรรศการการเสด็จฯจ.สุราษฎร์ธานีทั้ง 15 ครั้ง และร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเกี่ยวกับการจัดการแสดงมหรสพภายในงาน ทุกหน่วยงานต่างช่วยกันแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่เพื่อออกแบบให้งามดังกล่าวเป็นไปอย่างสมพระเกียรติพระองค์ท่าน โดยมิได้แบ่งแยกว่าใครมาจากหน่วยงานใด เรารวมเป็นเนื้อเดียวกันภายใต้ความจงรักภักดี เป็นการถวายงานพระองค์ท่านด้วยหัวใจ วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามที่จะเดินหน้าทุกรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงสรรพกำลังของมหาวิทยาลัยร่วมกับทุกองค์กรตามที่เราได้ตั้งปณิธานว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดินซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างแผ่นดินนี้ให้มีพลัง ตามที่พระองค์ท่านทรงเป็นต้นแบบให้กับพวกเราทุกคน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีและทีมงานบริการวิชาการฯได้เดินทางไปยังโรงเรียนบ้านควนประ อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช เพื่อพบปะนักศึกษาชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ที่มาออกค่ายอาสาพัฒนา ทำสื่อการเรียนการสอนBBL ปรับพื้นที่สำหรับการเรียนการสอน และตกแต่งบริเวณเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่ ตลอดระยะเวลากว่า 3 ชั่วโมง พวกเราได้รับทราบถึงมุมมองของคณะครูเจ้าของสถานที่ว่า ทุกคนมีความสุขใจที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีได้ทำโครงการในลักษณะนี้ขึ้น ต่างขอบคุณที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ในขณะที่นักศึกษาทุกคนก็มีความสุขใจเช่นกันที่มีโอกาสได้เขียนประวัติศาสตร์ชีวิตให้กับตัวเอง ในฐานะผู้ที่ทำคุณงามความดีให้กับท้องถิ่น โดยมีรางวัลที่สำคัญเหนือกว่าอื่นใดนั่นคือความสุข วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มกำลังความสามารถในการนำเอาทุกสรรพกำลังของมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกับท้องถิ่นในทุกมิติ เราพร้อมที่จะก้าวเดินไปในทุกหนทาง ในทุกท้องที่ และในทุกความยากลำบาก โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างพลังให้กับผืนแผ่นดิน ในฐานะที่เราเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
โครงการ การอบรมการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อ บริหารรายได้และรายจ่ายของเกษตรกร งบประมาณ 16,750 บาท สถานที่ดำเนินงาน ชุมชนห้วยทรายขาว ระยะเวลา 24 ส.ค. 56 การบูรณาการ การสอน – การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ นายชัยณรงค์ จะรา 081-7202178
เมื่อเวลา 11.30 น. (6 พฤศจิกายน 2563) ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม และนายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เข้าพบแสดงความยินดีกับท่านธีระ อนันตเสรีวิทยา ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ในโอกาสรับตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร
โครงการ บริการวิชาการด้านคณิตศาสตร์ งบประมาณ 73,500 บาท สถานที่ดำเนินงาน อาคารทีปังกรรัศมีโชติ และศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระยะเวลา 27-28 ส.ค. 2556 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย มี ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ อ.กันญารัตน์ หนูชุม 083-5922215