โครงการบริการวิชาการทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
โครงการ
บริการวิชาการทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
งบประมาณ
100,000 บาท
สถานที่ดำเนินงาน
รร.พุนพินพิทยาคม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
ระยะเวลา
5-6 มิ.ย. 2556
การบูรณาการ
การสอน มี
การวิจัย มี
โครงการ
บริการวิชาการทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
งบประมาณ
100,000 บาท
สถานที่ดำเนินงาน
รร.พุนพินพิทยาคม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
ระยะเวลา
5-6 มิ.ย. 2556
การบูรณาการ
การสอน มี
การวิจัย มี
กองกำกับตระเวนชายแดนที่ 41 ร่วมกับ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี นิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองวาย ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงตำรวจตระเวนชายแดน ระยะที่ 2 ประจำปี 2560
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยังพื้นที่น้ำตกภูริน บ้านสวนมะปราง ต.คลองสระ อ.กาญจนดิษฐ์ เพื่อร่วมกับพี่น้องในพื้นที่ในการจัดทำ(ร่าง)แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนภูริน ระยะ 3 ปี (2562-2564) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลผลิตด้านการเกษตร การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งนี้จะได้นำเสนอแผนฯเข้าสู่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน(กรอ.)ต่อไป …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม แม้กระบวนการของการเดินทางยังเหลือเส้นทางอีกยาวไกล แต่พวกเราก็พร้อมที่จะเดินหน้าอย่างสุดกำลัง ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น
โครงการ บริการวิชาการทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ งบประมาณ 100,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน รร.พุนพินพิทยาคม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลา 5-6 มิ.ย. 2556 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย มี ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ อ.สุธิพร ขุนทอง 084-1669925
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมหารือกับ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ อาจารย์จุฑารัตน์ ธาราทิศ ผศ.เตชะธรรม สังข์คร ดร.พลกฤต แสงอาวุธ และอาจารย์ธาตรี คำแหง เกี่ยวกับการดำเนินงานในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร …..โดยโครงการนี้เกิดขึ้นจากการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม ซึ่งมีความต้องการอยู่ 3 ส่วนคือ ต้องการแนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการตลาดแบบมืออาชีพ ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และแนวทางการพัฒนาและยกระดับการแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่อำเภอละแม ซึ่งพวกเราได้ร่วมกันระดมความคิดและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัย โดยมีการดำเนินงานใน 3 กิจกรรมคือ 1.กิจกรรมร่วมกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม 2.กิจกรรมสนับสนุนส่งเสริมรูปแบบการผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน 3.กิจกรรมร่วมกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการขยะ การส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มมูลค่าขยะให้เป็นรายได้ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยทั้ง 3 กิจกรรมจะเริ่มดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ …..วันนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างสุดกำลังในการทำงานเพื่อท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในลักษณะร่วมทุกข์ร่วมสุข เราจะร่วมฟันฝ่าปัญหาไปด้วยกัน ดังปณิธานที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดินผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
โครงการ แข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย งบประมาณ 17,642 บาท สถานที่ดำเนินงาน ห้องปัจจักขภัติ ชั้น 3 คณะวิทยาการจัดการ ระยะเวลา 19 ส.ค. 56 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ อ.สินีนาฎ มุสิกะ 088-7613752
เมื่อเวลา 10.00 น. (15 กุมภาพันธ์ 2565) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับกองนโยบายและแผนดำเนินการจัดประชุมแนวทางการจัดทำกรอบแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีหน่วยงานที่ดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์ ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น (3O 7KR) โดยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการกวิจัยและนวัตกรรมกได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้เน้นย้ำและมีเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าการดำเนินงานโครงการของทุกหน่วยงานในพื้นที่ตามโครงการพระบรมราโชบาย ประชาชนในพื้นที่จะต้องได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถใช้องค์ความรู้ที่ได้รับอาจารย์และคณะทำงานไปใช้ในชีวิตประจำวันประกอบอาชีพได้และสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ขณะที่ นายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ ชี้แจงว่า การเสนอโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทางคบว.และสถาบันวิจัยฯจะร่วมกันสังเคราะห์เพื่อการบูรณาการ และพิจารณาว่าโครงการที่นำเสนอมานั้นตรงกับพื้นที่เป้าหมายหรือไม่และนำส่งไปยังกองนโยบายและแผนภายใน วันที่ 21 สิงหาคม 2565 โดยคณะกรรมการฯสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มหลักเกณฑ์การขอรับข้อเสนอโครงการพระราโชบายด้านการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทางเว็บไซต์กองบริการวิชาการฯและในไลน์กลุ่มคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่น โดยมติที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่น 3O…