Similar Posts
โครงการประชาสัมพันธ์
โครงการ โครงการประชาสัมพันธ์ งบประมาณ 150,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน ศูนย์บูรณาการฯ ระยะเวลา ต.ค. 55 – ก.ย. 56 การบูรณาการ การสอน – การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น 077-355683
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเกมส์รุก ต้อนรับปีงบประมาณ 2561
ยกระดับช่องทางประชาสัมพันธ์ 2 ภาษา หวังตีตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ พุ่งเป้าสู่เส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพลวย ด้วย Socail network เมื่อเวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมเรียนรู้ 5 ชั้น 2 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี งานบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น ได้จัดประชุมผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย เพื่อร่วมหารือแนวทางการพัฒนาโครงการประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพลวย ด้วย Socail network เตรียมยกระดับให้เป็น 2 ภาษา เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น โดยเชิญหน่วยงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบคือศูนย์ภาษา และ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ร่วมระดมความคิดและให้ข้อเสนอแนะ แนวทางการดำเนินงานด้วย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานดังกล่าวว่า “งานบริการวิชาการพัฒนาถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ต้องการยกระดับเว็บไซต์ การท่องเทียวให้ได้มาตรฐานสากลเทียบเคียงกับเว็บไซต์การท่องเที่ยวของหน่วยงานอื่นๆ นอกจากนี้การทำเว็บไซต์ ดังกล่าวยังสามารถให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ ได้ทราบถึงทรัพยากรที่หลากหลากหลาย และข้อมูลเส้นทางการเดินทางที่ถูกต้องและปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ภายในอนาคต”…
มรส.ร่วมประชุมหารือเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2563 เวลา 09:30 น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยอาจารย์นาวิน วงศ์สมบุญ หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร นายเจตนัยธ์ เพชรศรี และว่าที่ร.ต.อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ได้รับมอบหมายเข้าร่วมประชุมกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อหารือแนวทางการดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมนุมอย่างยั่งยืน กิจกรรมจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวชุมนุมจังหวัด สุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลลูน 3 โรงเเรมบรรจงบุรี “SURATTHANI “ สุราษฎร์ธานีเมืองคนดีเที่ยวนี้ต้องไป ในการเพิ่มช่องทางการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ ให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบถึง แหล่งท่องเที่ยวเดิมที่ยังคงได้รับความนิยม และแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ เพื่อการประชาสัมพันธ์ศักยภาพท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวจากวิกฤตการเชื้อไวรัส COVID-19 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อสร้างรายได้เข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มรส.ร่วมประชุมเพื่อคัดเลือกกลุ่มองค์กรการเกษตรเพื่อเข้ารับการสนับสนุนเป็นพื้นที่ศึกษาและพัฒนาด้านการเกษตร
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี ได้ร่วมประชุมเพื่อคัดเลือกกลุ่มองค์กรการเกษตรเพื่อเข้ารับการสนับสนุนเป็นพื้นที่ศึกษาและพัฒนาด้านการเกษตร ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยให้มหาวิทยาลัยนำผลการศึกษาไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร ทั้งนี้จากการประชุมเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมได้มอบหมายให้สภาเกษตรกรคัดเลือกองค์กรเกษตรกรที่มีศักยภาพพร้อมขับเคลื่อนงานสู่การปฏิบัติมานำเสนอผลงาน โดยมีกลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกมา 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรภูริน กลุ่มกรีนฟู๊ดเมืองคนดี วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิภาวดี และสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินบ้านต้นมะพร้าว จำกัด …..ทั้ง 4 กลุ่มมีความหลากหลายและความเข้มแข็งในด้านการรวมกลุ่ม ทุนทางสังคม และวิสัยทัศน์ แต่ยังคงขาดแคลนมิติต่างๆที่จะช่วยเติมเต็มให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการที่เหมาะสมและยังยืน ในเดือนหน้าทีมงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะสนธิกำลังกันเพื่อลงพื้นที่ของทั้ง 4 กลุ่ม เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นอย่างดีที่สุด …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการนำเอาองค์ความรู้ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
การศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาชุมชนของประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
การศึกษา เรื่อง ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและเพื่อนำผลจากการศึกษามาสังเคราะห์เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนการให้บริการวิชาการแก่สังคมของหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการศึกษาภาคสนาม 2 ขั้นตอน คือ ศึกษาบริบทและข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามความรับผิดชอบของคณะ และศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาชุมชนของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 5 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จึงใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) จัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
งานบริการวิชาการฯ จัดประชุมแกนนำชุมชนขุนทะเลชี้แจงผลการดำเนินงาน ปี 2560 พร้อมเดินหน้าแผนการต่อยอด ปี 2561
ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ย้ำมรส.คือ มหาวิทยาลัยฯของชุมชน ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิต และยึดมั่นในปณิธานมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ได้จัดประชุมโครงการแกนนำสายใยรักแห่งครอบครัวและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมีแกนนำเดินทางเข้าร่วมประชุมจำนวน 10 หมู่บ้าน เพื่อชี้แจงผลการดำเนินงาน ในปี 2560 และแผนการปฏิบัติการในการต่อยอดผลการดำเนินงาน ในปี 2561 ด้วย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ประธานที่ประชุม ได้กล่าวว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโครงการแกนนำสายใยรักแห่งครอบครัวและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนขุนทะเลเป็นพื้นที่ที่สำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัยฯ ดังนั้น จึงอยากจะขับเคลื่อนและเป็นกลไกให้ชุมชนเดินหน้าต่อยอดความสำเร็จของการจัดทำผลิตภัณฑ์และต้องการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบให้สูงขึ้น …..ด้าน นายอรุญ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้เปิดเผยว่าจากการดำเนินงานโครงการดังกล่าวมหาวิทยาลัยและชุมชนได้ร่วมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและหลากหลายทั้งโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งที่ประชุมวันนี้จะมีการสรุปผลการดำเนินงานและแผนการดำเนินงานต่อยอด ในปี 2561 โดยที่ผ่านมามีผลผลิตที่ออกมาอย่างมากมายและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน…