ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับสมัครสอบ TOEIC
ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับสมัครสอบ TOEIC
ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับสมัครสอบ TOEIC
กองบริการวิชาการฯ เผยแพร่ผลงานโครงการพระราชดำริสู่ชุมชน กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เทศบาลเมืองดอนสักและสถานศึกษาใน เขตอำเภอดอนสัก ร่วมจัดงาน วันวิชาการ สานภูมิปัญญา ชุมชนก้าวหน้า ร่วมพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน ครั้งที่ 8 ประจำปี 2556 วิชาการดอนสัก ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2556 ณ โรงเรียนองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) โดยในส่วนของกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส. ได้จัดนิทรรศการ เรื่อง มรส.กับการสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดน โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว โครงการเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นอกจากนิทรรศ การเผยแพร่ผลงานดังกล่าวแล้ว กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ยังได้ จัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ มรส. ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และการเผยแพร่เอกสารผลงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แก่ หนังสือ มรส.กับการสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หนังสือคู่มือ…
รองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการ เดินหน้าขับเคลื่อนรับใช้ชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2562 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 2 โดยมี ผศ.ดร.ไชยวัฒน์ เผือกคง รองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธานในการประชุม การดำเนินงานบริการวิชาการแก่สังคมท้องถิ่น ตามแผนปฎิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
วันศุกร์ ที่ 4 ตุลาคม 2562 เมื่อเวลา หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมบุคลากรสายสนับสนุนปฏิบัติงานประจำสำนักงาน ณ ห้องราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดีได้รับทราบแนวทางการปฏิบัติและหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสำนักงานอธิการบดี ทั้งนี้ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารได้ชี้แจงว่ามติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมีแนวทางและข้อคิดเห็นในประเด็นที่ต้องให้บุคลากรได้รับทราบและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันคือ ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่หน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดี เช่นงานบริการวิชาการฯจะต้องมีการบูรณาการกับงานวิจัยและนวัตกรรม นอกจากนี้การเขียนโครงการจะต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้นคือระบุเป้าหมาย(เน้นคุณภาพไม่เน้นปริมาณ)โดยสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก และที่สำคัญต้องพัฒนาความรู้บุคลากรสายสนับสนุนให้ตรงกับสายงานและตรงกับตำแหน่งที่ปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตามรองอธิการบดีฝ่ายบริหารได้กล่างทิ้งท้ายว่า อยากให้บุคลากรและหัวหน้าทุกหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานอธิการบดีได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันพร้อมกันในแต่ละชั้น เพือสร้างความสัมพันธภาพและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยให้คิดเสมอว่า “ผู้บริหารและบุคลากรทั้งสายสนับสนุนและภาคสนามมีสิทธิเท่าเทียมกันแต่มีหน้าที่แตกต่างกันเท่านั้น”ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เวลา 15.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางไปยังเขตพัฒนาที่ 3 เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ณ ชุมชนกาญจนวิถีร่วมใจ ตามโครงการติดตามและประเมินผลแผนการพัฒนาและโครงการ กิจกรรมของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
ด้านรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร หนุน Full steam เร่งหาสถานที่ให้สมพระเกียรติเพื่อสนองโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อเวลา 09.00 น (5 กุมภาพันธ์ 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการจัดประชุม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธานในการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวได้มีคณะกรรมการตัวแทนจากคณะและสำนักต่างๆเข้าร่วมรับฟังและชี้แจงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา นอกจากนี้ได้ร่วมพิจารณาร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ซึ่งได้มีการเสนอรายชื่อเพิ่มเติม พร้อมทั้งสรุปผลพิจารณาคำขอตั้งงบประมาณโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญที่รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเน้นย้ำคือกำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดตั้งศูนย์ประสานงานโครงการ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถคือ ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการคณะกรรมการ อพ.สธ. และรองหัวหน้าสำนักงาน อพ.สธ….
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อส่งมอบข้อมูลขั้นที่ 1 ให้กับท้องถิ่น จ.ระนอง รวมทั้งเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.ระนอง ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ทุกพื้นที่มีนายกฯ ปลัดฯ และหัวหน้าสำนักจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.ระนอง เข้าร่วมการประเมินอย่างพร้อมเพรียง รวมทั้งให้การต้อนรับพวกเราในฐานะกัลยาณมิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะ “มหาวิทยาลัยแห่งการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น” มีหน้าที่สำคัญในการก้าวเดินไปพร้อมกับการเคลื่อนที่ของท้องถิ่น ในลักษณะพี่น้องที่ต้องยึดโยงกันไปอย่างเหนียวแน่น อาทร และปรารถนาดีต่อกัน วันนี้เราพยายามเดินหน้าเพื่อเชื่อมโยงทุกสรรพกำลังของมหาวิทยาลัยในการสร้างแนวทางและโอกาสที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเส้นชัยที่เราต้องไปให้ถึงร่วมกันคือ การสร้างสังคมแห่งความสุขอย่างที่เราฝัน###มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานว่าที่ ร.ต.อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ถ่ายภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผย ถ้าเราหยุดนิ่ง ปัญหาก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นต้องมุ่งมั่นยกระดับพัฒนาในทุกมิติ ตามปณิธาน มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง …..เมื่อเวลา 13.30 น. ของวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วย อาจารย์กานต์ธิดา บุญมา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ และ ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทีมงาน ได้เดินทางไปยังสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 สุราษฎร์ธานี เพื่อหารือเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของดินในพื้นที่เพาะปลูก ทั้งนี้สืบเนื่องจากการมหาวิทยาลัยฯได้ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ เดือนละ 1 อำเภอ และได้พบปะพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรในแต่ละอำเภอ พบว่า พี่น้องไม่มีข้อมูลที่ทำให้ทราบถึงระดับคุณภาพของดินที่ใช้ในการเพาะปลูก …..ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เผยว่า “หลังจากได้ร่วมพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนตามโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ พบว่า เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องคุณภาพของดิน ซึ่งไม่สามารถทราบได้เลยว่า ดินที่มีอยู่เหมาะสมกับการปลูกพื้นชนิดใด ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเบื้องต้นได้ร่วมหารือกับคณาจารย์และบุคลากรประจำศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพของดินเป็นอย่างไร และควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ดังนั้น ในวันนี้จึงได้มาร่วมหารือกับ คุณแฉล้ม พริ้มจรัส…