Similar Posts
ร่วมประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น
วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับผู้แทนจากคณะนิติศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางมายังมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อร่วมประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องโมคลาน อาคารบริหาร โดยมี ศ.น.สพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม เป็นประธานการประชุม ในวันนี้มีการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีรับผิดชอบโครงการทั้งสิ้น 15 โครงการ ครอบคลุม 34 โรงเรียน ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ชุมพร ทั้งนี้โครงการการพัฒนาฉันเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการสอนแบบเปิด ซึ่งจัดขึ้นที่โรงเรียนคลองนามิตรภาพ 201 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 5 ของโรงเรียนในภาคใต้ตอนบนที่คณะอนุกรรมการอำนวยการจาก สกอ. จะมาตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการฯ พี่น้องครับ วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำทุกสรรพวิชาที่เรามีเข้าสู่ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างหลากหลายมิติ ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงาน/ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น
มรส.ร่วมงานกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น คัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง“อยู่เย็น เป็นสุข” เชิดชูเกียรติ คนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
ประชาชน บ้านคลองเรือชื่นมื่น มรส.ร่วมสนับสนุนยกระดับการพัฒนาอาชีพ ผู้นำชุมชนเผยเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อเวลา 08.30 น. (27 พฤษภาคม 2563) คณะผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยฯ เพื่อร่วมงานกิจกรรมคัดสรรพัฒนาชุมชนดีเด่นประจำปี 2563 กิจกรรมคัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข”และกิจกรรมเชิดชูเกียรติ คนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประจำปี 2563 ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านคลองเรือ ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี โดยมีนายบรรเจิด สาริพัฒน์ นายอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการเปิดงาน ทั้งนี้ ได้มีผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว คือ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ผศ.ดร.ลักษมี ชัยเจริญวิมลกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะทำงานพร้อมทั้งคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหัวหน้าส่วนราชการจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายวิรุท แก้วสงค์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านคลองเรือ ได้เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรมดังกล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้คัดสรรบ้านคลองเรือเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง“อยู่เย็น เป็นสุข”และกิจกรรมเชิดชูเกียรติ คนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี…
อพ.สธ.มรส. ขับเคลื่อนศูนย์ประสานงาน ผลักดันสร้างจุดเรียนรู้ “มะพร้าวเกาะพะงัน” เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
เมื่อเวลา 09.00 น. (17 กุมภาพันธ์ 2565 ) คณะดำเนินงานศูนย์ประสานงานกอพ.สธ.-มรส.กภายใต้โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นกได้ลงพื้นที่ติดตามงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯกณกเทศบาลตำบลนาใต้ อำเภอเกาะพะงันกจังหวัดสุราษฎร์ธานีกในกิจกรรมประชุมสัมมนาการสร้างการส่วนร่วมเพื่อพัฒนาจุดเรียนรู้มะพร้าวเกาะพะงันเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมกโดยมีนายอรุณกหนูขาวกผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นเป็นผู้กล่าวเปิดโครงการกซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายภาคส่วน เช่น ส่วนราชการ เกษตรกร เอกชน โรงเรียน และวิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงัน เป็นต้นกและมีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
มรส.มอบหมายงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นพร้อมเครือข่ายฯ ร่วมโครงการ จว.เคลื่อนที่
ด้านพ่อเมืองวิชวุทย์ เผยชื่นชมมรส.สร้างองค์ความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่นต่อเนื่อง เมื่อเวลา 06.30 (20 กุมภาพันธ์ 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และเครือข่ายงานบริการวิชาการฯจากหน่วยงานต่างๆได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ หอสมุดกลาง จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายสื่อสารองค์กร ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยฯเพื่อร่วมจัดกิจกรรม ในโครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ โรงเรียนบ้านทุ่งนางเภา ตำบลโมถ่าย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธิเปิด ซึ่งภายในงานได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดฯได้กล่าวว่า โครงการฯดังกล่าว เป็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานต่างๆ ใกล้ชิดกันมากขึ้น และรับทราบปัญหาความต้องการที่แท้จริงของประชาชนพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้เป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการของทุกหน่วยงาน และสร้างความสามัคคีปรองดองระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ กับประชาชนในพื้นที่ กิจกรรมสุดท้ายของงานขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เดินเยี่ยมชมบูธต่าง ๆ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำวิวัฒนาการของการอ่านหนังสือสามมิติ และให้ความรู้ทางด้านกฏหมายแก่ประชาชน พร้อมทั้งให้คำแนะนำเรื่องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและบัญฑิตศึกษา โดยนายวิชวุทย์ ได้เอ่ยปากชมคณะทำงานของมรส.ว่า อยากเห็นคนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วม ช่วยเหลือประชาชนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างนี้ ซึ่งทางจังหวัดได้รับการตอบรับและได้รับการสนับสนุนจากราชภัฏสุราษฎร์ธานีอย่างต่อเนื่อง ทั้งการช่วยเหลือด้านองค์ความรู้…
มรส.ต่อยอดประเด็นการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ ต.ขุนทะเล
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ร่วมกับคณาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ ดร.วัชรี รวยรื่น และอาจารย์นิสากร สุขหิรัญ พวกเราได้ร่วมกันหารือเพื่อต่อยอดประเด็นการบริหารจัดการขยะ ในพื้นที่ ต.ขุนทะเล ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านให้ความสำคัญว่า เป็นประเด็นปัญหาที่ควรแก้ไขเป็นอันดับแรก และอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไข โดยหลังจากที่ได้มีการรวบรวมข้อมูลพบว่า พื้นที่ขุนทะเลมีขยะมากถึง 15-16 ตัน/วัน และต้องใช้งบประมาณในการกำจัดขยะจำนวนมาก โดยขณะนี้มหาวิทยาลัยได้จัดชุดโครงการบริหารจัดการขยะ ต.ขุนทะเล ซึ่งมีโครงการย่อยร่วม 20 โครงการ ตามงบประมาณ ปี 2561 และอยู่ในระหว่างจัดทำการของบประมาณจาก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาวิจัยในประเด็นการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาล ต.ขุนทะเล วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเดินหน้าในทุกมิติเพื่อร่วมกันกับท้องถิ่นในการแก้ปัญหาและยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องอย่างเอาจริงเอาจัง เราพร้อมที่จะฟันฝ่าทุกอุปสรรคเพื่อสร้างพลังให้กับแผ่นดินนี้ร่วมกัน ในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี