Similar Posts
มรส.ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9
…..มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีน้อมรำลึก ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช ณ บริเวณด้านหน้าศาลาทรงพระเจริญ ถนนศรีสุราษฎร์ธานี …..เมื่อเวลา 18.30 น. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้กำหนดจัดกิจกรรมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช (รัชกาลที่ 9) ซึ่งเป็นการจัดนิทรรศการแสดงภาพถ่าย “น้อมรำลึกในหลวง ร.9 เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยี่ยนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี” …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เข้าร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช ในหลวงราชกาลที่ 9 ซึ่งชาวราชภัฏฯสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนิทรรศการดังกล่าวจะเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่บันทึกในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทย ซึ่งแต่ละครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินล้วนแต่นำมาซึ่งประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพัฒนาแหล่งน้ำ เส้นทางคมนาคม ฯลฯ อีกทั้งโครงการพระราชดำริซึ่งถือเป็นความรักและความห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ท่าน …..ด้าน ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้กล่าวถึงกิจกรรมครั้งนี้ว่า เราล้วนเป็นชาวราชภัฏคำว่า “ราชภัฏ” หมายถึง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” ได้เป็นผู้ทำงานถวายเพื่อสนองพระราชกรณียกิจของพระองค์ ในเรื่องที่สำคัญพัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน ดังนั้น กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่ชาวสุราษฎร์ธานีทุกหมู่เหล่าร่วมกันน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ประเทศไทยโชคดีที่มีในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านทรงงานหนักเพื่อพสกนิกร…
งบว. จัดประชุมผู้รับผิดชอบโครงการอพ.สธ. รองฯพันธกิจสัมพันธ์ Startup แผนการดำเนินไม่หวั่นสถานการณ์ COVIC –19
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นสนองโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดมความคิดหาแนวทางขับเคลื่อนและยกระดับการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเวลา 14.00 น. (13 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นจัดประชุมผู้รับผิดชอบโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ. – มรส.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุมทั้งนี้การประชุมดังกล่าวเป็นการติดตามเรื่องการจัดตั้งศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯพร้อมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ประสานดังกล่าว โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ชี้แจงว่าในฐานะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ตั้งเป้าหมายของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในลักษณะเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน โดยในระยะแรกศูนย์ประสานงาน ดังกล่าวจะต้องจัดตั้งอยู่ ณ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีเจ้าหน้าที่ประสานงาน และจะมีการคัดสรรผู้ที่มีความเหมาะสมดำเนินงานเป็นผู้อำนวยการตัวจริงและหัวหน้าศูนย์ฯที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งระยะแรกมหาวิทยาลัยจะต้องใช้วิธีการเกลี่ยอัตรากำลังให้มาประจำที่ศูนย์ และสถานที่การจัดตั้งศูนย์น่าจะอยู่ในบริเวณพื้นที่ของหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ ด้าน ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนงานในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ. – มรส.) ประจำปีงบประมาณ…
หลักสูตรการจัดทำ E-BOOK เพื่อการศึกษา
สาระสำคัญของหลักสูตร E-Book เป็นสื่อ Electronic ที่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน การผลิตสื่อ Electronic และเทคนิคการผลิตสื่อ E-Book ในรูปแบบใหม่ๆที่น่าสนใจ จะสามารถเข้าถึงการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้เหมาะกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้ในการผลิตสื่อ E-Book แก่บุคลากรทางการศึกษา เพื่อปฏิบัติการผลิตสื่อ E-Book ให้สามารถนำไปใช้ได้จริงในโรงเรียน เนื้อหาหลักสูตร (Course Outline) ความรู้เกี่ยวกับสื่อ Electronic ปฏิบัติการผลิตสื่อ E-Book ปฏิบัติการเรียนรู้โปรแกรมพื้นฐานสำหรับ E-Book เช่น I love Library, FlipAlbum, Desktop Author เทคนิคการเรียบเรียงเค้าโครงเเละเนื้อหา รายละเอียดทั้งหมด หลักสูตรการจัดทำ E-BOOK เพื่อการศึกษา
มรส. เดินหน้าบริการวิชาการ พื้นที่เกาะพะลวย
เมื่อวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2560 คณะกรรมการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 28 คน ลงพื้นที่ ณ เกาะพะลวย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้คณะทำงานได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมวางแผนงานกับผู้นำชุมชนและคนในท้องถิ่น อันจะทำให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่นให้มากที่สุด ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่เกาะพะลวยในครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 – 12 ตุลาคม 2559 งานบริการวิชาการฯ ได้สำรวจเส้นทางท่องเที่ยว วิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนปัญหาของชุมชน นำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับจัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาให้กับชุมชนเกาะพะลวย ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นแผนปฏิบัติการจำนวน 15 โครงการ โดยงานบริการวิชาการฯ ได้รับความร่วมมือจากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยในการร่วมกันขับเคลื่อน 15 โครงการดังกล่าว วันวนัทธ์ วรภู รายงาน / ถ่ายภาพ
ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี เยี่ยมชมและร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนศูนย์การศึกษาสำหรับชาวพม่า
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้เดินทางไปยังศูนย์การศึกษาสำหรับชาวพม่า (วัดโพธิ์หวาย) เพื่อเยี่ยมชมและร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะสามารถให้การช่วยเหลือได้ โดยศูนย์แห่งนี้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆลูกหลานชาวพม่าที่เข้ามาขายแรงงานในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีคุณครูชาวพม่าเป็นผู้สอน ทั้งนี้สามารถเทียบโอนกับการเรียนในโรงเรียนที่ประเทศพม่าได้ …..ตลอดระยะเวลาร่วม 2 ชั่วโมงที่พวกเราได้มีโอกาสสัมผัสเด็กๆ คุณครู และคณะกรรมการผู้จัดการเรียนการสอน สิ่งหนึ่งที่พวกเรารู้สึกเหมือนกันคือ ภายใต้ความอัตคัตของค่าใช้จ่ายและความพร้อมทางการศึกษานั้น มีความตั้งใจอันงดงามของความพยายามในการเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเองแฝงอยู่ เด็กๆที่นี่อยากเรียนภาษาไทย คุณครูที่นี่อยากมีใบอนุญาตทำงานที่ตรงกับอาชีพ คณะกรรมการอยากมีกองทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ยากลำบาก ทุกคนต่างมีหัวใจอันบริสุทธิ์ที่มีต่อกันในฐานะมนุษย์ผู้พลัดถิ่นทั้งสิ้น …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะหาแนวทางในการนำเอาทุกกำลังความสามารถที่เรามีเพื่อยื่นมือเข้าหาพี่น้องในท้องถิ่นโดยไร้เส้นแบ่งในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น
ทีมบริการวิชาการฯ พร้อม UBI ลงพื้นที่ หมู่ 10 ผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำพริกไตปลาแห้ง แกนนำหมู่บ้านพร้อมลุย เร่งตีตราแบรนด์ “ขุนเล”
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ – หัวหน้างานบริการฯสุดปลื้ม ชื่นชมชาวบ้านมีความพร้อมผลิตสินค้าน้ำมันเหลืองสมุนไพร – ไตปลาแห้งจำหน่ายเอง ดันสุดแรงอบรมเชิงปฏิบัติการให้สินค้ามีคุณภาพ ชูขึ้นห้างในอนาคต …..เมื่อเวลา 10.00 น. (13 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการิชาการ และผู้แทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยังร้านจำหน่ายธงฟ้าประชารัฐ หมู่ที่ 10 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าตามแผนในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยหมู่บ้านดังกล่าวได้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำพริกไตปลาแห้ง ซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำหมู่บ้าน …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงการดำเนินงานของชุมชน หมู่ที่ 10 ว่า การผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร และน้ำพริกไตปลาแห้ง ของหมู่ที่10 มีปัจจัยที่เอื้อต่อการทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ เช่น แกนนำที่มีศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร การรวมกลุ่มของชาวบ้านที่ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี มีความพร้อมทั้งวัตถุดิบจากธรรมชาติ และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานเป็นผลให้ การจัดจำหน่ายสินค้าภายในชุมชนสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับครัวเรือนได้อย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือการขยายแผนช่องทางการตลาด การทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้เหมาะสมกับสินค้าและสร้างแรงดึงดูดใจให้กับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการฯ ร่วมกับ UBI…