Similar Posts
คบว.ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นบ้านสวนปราง ขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นโครงการตามพระบรมราโชบาย ประจำปี 2565
โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับคณาจารย์ คณะนิติศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วยบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางลงพื้นที่บ้านสวนปราง ตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมหารือแนวทางการพัฒนา รับฟังปัญหา รายงานผลการดำเนินงานในปีงบประมาณปี 2564 และนำข้อเสนอแนะไปปรับแนวทางการดำเนินงานโครงการตามพระบรมราโชบายในพื้นที่ นายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นกล่าวว่า พื้นที่ภูรินเป็น 1 ใน 3 พื้นที่ ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินงานเพื่อตอบโจทย์ตามโครงการพระบรมราโชบาย 4 ด้าน คือด้านการศึกษา เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งมหาวิทยาลัย เข้ามาเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ภูริน โดยมหาวิทยาลัยฯมีเจ้าภาพหลักในการพัฒนาพื้นที่ภูรินจะเป็นคณะนิติศาสตร์ สำหรับในปี2565 ทางมหาวิทยาลัย ได้เข้ามาดำเนินโครงการ จำนวน 5 กิจกรรม ประกอบด้วย โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาเผาขยะชุมชน โครงการสร้างสร้างสุขเมืองคนดีเพื่อชีวีผู้สูงอายุ โครงการยกระดับคุณค่าสมุนไพรภูริน โครงการยกระดับคุณค่าดินขุยไผ่ และโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่
นิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านกอเตย
กองกำกับตระเวนชายแดนที่ 41 ร่วมกับ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี นิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านกอเตย ตำบลคลองพา อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงตำรวจตระเวนชายแดน ระยะที่ 2 ประจำปี 2560
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมผู้นำทัพงานบริการวิชาการฯ ติดตามผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ดุเดือด !
กำกับติดตาม มุ่งหวังให้ทุกหน่วยงานเป็นกลไกผลักดัน ส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง ผช.อธิการบดีฯ ติง “คณะใหญ่” ส่งตัวแทนเข้าร่วมไร้เงาผู้รับผิดชอบ ผลการรายงานจึงปล่อยลมเต็มสูบ ตั้งข้อสังเกตผู้บริหารควรเอาใจใส่เพราะเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 10.00 น. (20 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 2 / 2561 ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการในไตรมาสที่ 2 โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธานในการประชุม …..โดยการประชุมดังกล่าวได้ดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุมตามโครงการ กิจกรรม แผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย เช่น การประกันคุณภาพการศึกษา ในระหว่างวันที่ 5 – 7 มีนาคม 2561 ซึ่งเป็นการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยที่ประชุมได้แจ้งให้หน่วยงานทราบ ในเรื่องของเอกสารบางส่วนที่ต้องส่งมายังงานบริการวิชาการเพื่อใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการตรวจประเมิน…
ทีมบริการวิชาการฯ พร้อม UBI ลงพื้นที่ หมู่ 10 ผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำพริกไตปลาแห้ง แกนนำหมู่บ้านพร้อมลุย เร่งตีตราแบรนด์ “ขุนเล”
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ – หัวหน้างานบริการฯสุดปลื้ม ชื่นชมชาวบ้านมีความพร้อมผลิตสินค้าน้ำมันเหลืองสมุนไพร – ไตปลาแห้งจำหน่ายเอง ดันสุดแรงอบรมเชิงปฏิบัติการให้สินค้ามีคุณภาพ ชูขึ้นห้างในอนาคต …..เมื่อเวลา 10.00 น. (13 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการิชาการ และผู้แทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยังร้านจำหน่ายธงฟ้าประชารัฐ หมู่ที่ 10 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าตามแผนในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยหมู่บ้านดังกล่าวได้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำพริกไตปลาแห้ง ซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำหมู่บ้าน …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงการดำเนินงานของชุมชน หมู่ที่ 10 ว่า การผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร และน้ำพริกไตปลาแห้ง ของหมู่ที่10 มีปัจจัยที่เอื้อต่อการทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ เช่น แกนนำที่มีศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร การรวมกลุ่มของชาวบ้านที่ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี มีความพร้อมทั้งวัตถุดิบจากธรรมชาติ และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานเป็นผลให้ การจัดจำหน่ายสินค้าภายในชุมชนสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับครัวเรือนได้อย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือการขยายแผนช่องทางการตลาด การทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้เหมาะสมกับสินค้าและสร้างแรงดึงดูดใจให้กับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการฯ ร่วมกับ UBI…
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการฯ เปิดเกมส์รุกไตรมาสแรก จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเมื่อเวลา 08.00 น.(29 ตุลาคม 2563) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ณ ห้องประชุมศรีวิชัย ชั้น 3 อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงแนวทาง ข้อปฏิบัติ และระเบียบต่างๆในการดำเนินโครงการทุกโครงการและกิจกรรม โดยวิทยากรผู้เชี่ยว คือ ดร.วิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร คุณอุไร ส้มเกลี้ยง ผู้เชี่ยวชาญด้านงานแผนและงบประมาณ และ คุณภุมรี ก้องศิริวงศ์ ผู้อำนวยการกองคลัง นอกจากนี้ คุณอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ชี้แจงและให้ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมพิจารณากรอบการลงพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการบริการวิชาการและบันทึกข้อความร่างคำสั่งคณะกรรมการดำเนินโครงการพร้อมทั้งการรายงานผลการดำเนินโครงการทุกโครงการด้วย
มรส.เคาะ! แน่ ศูนย์ AIC หวังพัฒนาคุณภาพเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย
ด้านอธิการบดีฯ เผย มรส.เร่งขับเคลื่อนจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชี้เป็นพันธกิจหนึ่งในการรองรับความเปลี่ยนแปลง และตอบโจทย์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เมื่อเวลา 10.00 น. (22 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นดำเนินงานจัดประชุมโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรของจังหวัด สุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) ณ ห้องราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้บริหารและแกนนำชุมชนทั้ง 10 หมู่บ้าน ในตำบลขุนทะเลเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ในสภาวการณ์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยจะต้องมีแผนรองรับการเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น อดีตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สังกัดภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ แต่ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องแสดงศักยภาพในการส่งเสริมพัฒนาการเกษตรกรรม นวัตกรรมสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้นและเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนโดยทางจังหวัดและมหาวิทยาลัยได้ร่วมหารือกันและได้แนวนโยบาย Reinvent หรือการพลิกโฉมให้สามารถตอบโจทย์เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริงควบคู่ไปกับการรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทุกด้าน โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อม 4 ประเด็นคือ 1.เกษตรคุณภาพ 2.ท่องเที่ยวยั่งยืน…