Similar Posts
มรส.ยกระดับศักยภาพอาจารย์ผู้สอนและการบูรณาการการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่น
วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2562 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนายกระดับศักยภาพอาจารย์ผู้สอนและการบูรณาการการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่น ณ ห้องประชุมศิริประภา เขื่อนรัชชประภาอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด โดยการจัดอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.นงรัตน์ อิสโร บรรยายด้านยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระบรมราโชบาย และศาสตราจารย์ ดร.อารี วิบูลย์พงศ์ บรรยายด้านพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมให้เกียรติเป็นวิทยากรและถ่ายทอดความรู้พร้อมทั้งประสบการณ์จากการทำงานให้กับผู้เข้าร่วมอบรม
มรส.ร่วมโครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข จังหวัดเคลื่อนที่สุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯได้เข้าร่วมโครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ตามนโยบายจังหวัดเคลื่อนที่ของ จ.สุราษฎร์ธานี ณ ต.บ้านนา อ.บ้านนาเดิมเพื่อนำความรู้ทางด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร การทำปุ๋ยอินทรีย์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปให้ความรู้กับพี่น้อง ตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ว่า “จังหวัดเคลื่อนที่ไปที่ใด SRUจะเคลื่อนไปที่นั่น” พี่น้องบ้านนาเดิมให้ความสนใจและชื่นชอบกิจกรรมของพวกเรามากทีเดียวครับ วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเดินหน้าอย่างเต็มกำลังในทุกมิติเพื่อร่วมกับพี่น้องประชาชนในการเดินหน้ายกระดับและแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต โดยมีจุดหมายคือการทำให้พี่น้องมีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น###มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานอดิสรณ์ เนาวโคอักษร และ อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ถ่ายภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการฯจูงมือเครือข่าย UBI – วิทยาศาตร์ฯ ลงพื้นที่ หมู่ 9 ติดตาม โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว – เศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
…..ชู ขับเคลื่อน สินค้าจากไก่อารมณ์ดี หวังผลผลิตไข่มีคุณภาพ ทีมงานบริการวิชาการฯ ยกนิ้ว หมู่ 9 ผู้ใหญ่บ้านสุดปลื้มเป็นหมู่บ้านตัวอย่าง ใช้องค์ความรู้ที่ มรส.ให้ ยกระดับคุณภาพชีวิตได้จริง …..เมื่อเวลา 14.00 น. (7 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคุณฐิติมา บุญยังผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI และ ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคม หมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี นางปัทมา ฤทธิกัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมการดำเนินงานของหมู่ที่ 9 ว่า ผลิตภัณฑ์และสินค้าที่หมู่บ้านดังกล่าวได้เสนอให้มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือด้านองค์ความรู้ การเพาะเลี้ยงไก่อารมณ์ดี ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกรรมวิธีการเพาะเลี้ยงและเพาะพันธุ์อย่างถูกต้อง โดยประเด็นที่ได้พูดคุยกับกลุ่มชาวบ้านจะต้องทำเป็นลำดับขั้นตอนคือ 1. ชาวบ้านต้องมีความรู้ 2. เมื่อได้รับองค์ความรู้ และสามารถเพาะเลี้ยงได้อย่างถูกวิธี…
ฝ่ายบริการวิชาการฯ เดินเครื่องร่วมประชุมหารือ อบจ.สุราษฎร์ฯ พัฒนาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวดอนสัก–เกาะพะลวย
โหมโรง ! ปี 2561 ด้วยโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวของอาจารย์ มรส. ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย 18 มกราคม 2561 ดีเดย์ เร่งจัดประชุมระดมสมองเพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ …..เมื่อเวลา 09.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และคณะเดินทางไปร่วมประชุม ณ กองการศึกษาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม และหัวหน้าส่วนต่างๆขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย …..สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก-พะลวย มาตั้งแต่ปี 2559-2560 โดยได้สร้างผลิตผลด้านการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างเป็นที่น่าพึงพอใจ ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลจากการประเมินผลการดำเนินการโครงการนั้นพบว่า พื้นที่ดังกล่าวยังต้องพัฒนาในด้านต่างๆอีกมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงต้องการที่จะต่อยอดการดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และส่งผลในทางบวกกับพี่น้องประชาชนอย่างมากที่สุด …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยว่า จากที่ได้ร่วมพูดคุยกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และหัวหน้างานในส่วนต่างๆขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางยกระดับพัฒนาและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวพื้นที่ดอนสัก-เกาะพะลวยว่า ให้มหาวิทยาลัยจัดทำโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวที่มีเนื้อหาในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวและคุณภาพชีวิตให้กับชาวชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อนำเสนอมายังฝ่ายแผนฯ …..นอกจากนี้ ได้กำหนดจัดประชุมเพื่อให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอข้อมูลให้กับทีมงานจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2561 โดยทางองค์การบริการส่วนจังหวัดฯ ได้เน้นย้ำเรื่องข้อมูลที่สามารถนำมาพิจารณา และหากเป็นไปได้อาจก้าวไปสู่การทำข้อตกลงความร่วมมือ…
DAS อบรมครู ตชด.หวังพัฒนาเด็กในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
เมื่อวันที่ ๗-๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานสนองงานโครงการส่งเสริมคุณภาพ การศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ กำหนดจัดอบรมครู ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ ประจำปี ๒๕๕๘ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานขึ้น ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส.เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 หวังบรรลุตามพระราชปณิธาน
เมื่อเวลา 11.00 น. (12 พฤษภาคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานแผนแม่บทโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 ณ ห้องประชุมงานบริการวิชาการฯ ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานในการประชุม จากเหตุการณ์อุทกภัยภาคใต้เมื่อพฤศจิกายน 2531 เกิดการพังทลายของดินบริเวณยอดเขาและเชิงเขา กระแสน้ำพัดต้นไม้ หิน ทรายและวัสตุอื่นๆ ไหลปะทะบ้านเรือน และทับถมเรือกสวนไร่นาของราษฎรบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธนี เสียหายเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชมารึ กรมพระศรีสว่างควัฒนวรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงมีพระดำริจะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ประสบอุทกภัยให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีอยู่เดิม และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกับปลูกฝังค่านิยมให้กับประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนให้มีจิตสำนึกรักธรรมชาติและช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าให้คงอยู่เป็นมรดกสู่รุ่นหลาน เพื่อให้การบริการจัดการโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 บรรลุตามพระราชปณิธาน ตอบสนองความต้องการของพื้นที่