Similar Posts
มรส.ขับเคลื่อนบริการวิชาการสู่การพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้แบ่งกันปฏิบัติงานต่างๆเพื่อทำหน้าที่อันหลากหลายที่จะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นโดยชุดที่ 1 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้รับมอบหมายจากท่านรักษาราชการแทนอธิการบดีให้เข้าร่วมประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ร่วมกับอ.ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์ อ.พงศกร ถิ่นเขาต่อ และคุณนันทพร รัตนพันธ์ เพื่อพิจารณาข้อเสนอโครงการของแต่ละมหาวิทยาลัยในกลุ่มภาคใต้ตอนบน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบโครงการมากที่สุด จำนวน 14 โครงการ 20 โรงเรียน โดยได้เสนอโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพิ่มเติมอีก 11 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 31 โรงเรียนเพื่อขยายพื้นที่เพิ่มเติมไปยังจ.ชุมพร เพื่อนำองค์ความรู้ไปยังคุณครูและนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล ชุดที่ 2 ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ยังคงนำทีมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเดินหน้าเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.กระบี่ อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.กระบี่ ทีมงานเดินหน้าอย่างแข็งขันเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย โดยใช้ความเป็นกัลยาณมิตรเป็นพื้นฐาน พวกเราทุกคนตั้งใจที่จะทำให้ SRU สามารถเดินหน้าเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างสุดกำลัง แม้เราจะแยกกันทำงาน แต่เป้าหมายเรามีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ การทำแผ่นดินนี้ให้มีพลังในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการฯ เดินทางเพื่อยกระดับการให้บริการวิชาการเเก่ชุมชน
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ได้เดินทางมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเพื่อเยี่ยมเยียนและหารือกับ อาจารย์อัจฉริยา สุวรรณสังข์ ผู้ดูแลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เกี่ยวกับแนวทางการบริการวิชาการและพันธกิจท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้และเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อเสนอเป็นสำนักบริการวิชาการฯในอนาคต …..ตลอดระยะเวลาร่วมชั่วโมง เราได้ข้อมูลและแนวทางที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะแนวทางการกำหนดพื้นที่เพื่อระดมสรรพกำลังในการพัฒนา โดยอาศัยความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ โดยให้มหาวิทยาลัยเป็นตัวเชื่อมระหว่างท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยกันในการบริการวิชาการเพื่อท้องถิ่น อันจะเป็นการสนธิกำลังกันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยใช้จุดเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัยมาช่วยเหลือพี่น้องในท้องถิ่น
SRUเปิดเวทีสัมมนาหวังบูรณาการการจัดการเรียนการสอนสู่ชุมชนท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (SRU) เปิดเวทีสัมมนาหวังบูรณาการการจัดการเรียนการสอนสู่ชุมชนท้องถิ่น พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี หวังนำผลการสำรวจความต้องการชุมชน เพื่อตลอดหลักสูตรระยะสั้นให้สอดคล้องกับบริบทและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย เมื่อเวลา 10.00 น. (14 พฤศจิกายน 2562 ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาโครงการ “ผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อบูรณาการการพัฒนาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนการสอน” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ห้อง GA 104 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เปิดเผยถึงการจัดโครงการดังกล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯมีความต้องการยกระดับพัฒนาความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่นจากการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้บริหารท้องถิ่นและผู้แทนชุมชน “
เรียนรู้ศักยภาพทรัพยากรวัฒนธรรมในงานพัฒนาชุมชน
โครงการ เรียนรู้ศักยภาพทรัพยากรวัฒนธรรมในงานพัฒนาชุมชน งบประมาณ 47,400 บาท สถานที่ดำเนินงาน บ้านห้วยทรายขาว ม.8 บ้านบางลุ ม.7 บ้านขุนทะเล ม.1 ระยะเวลา 11ก.ค.-15 ก.ย. 56 การบูรณาการ การสอน – การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ นางสาวจีรวรรณ ศรีหนูสุด 089-0689044
มรส. เดินหน้าบริการวิชาการ พื้นที่เกาะพะลวย
เมื่อวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2560 คณะกรรมการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 28 คน ลงพื้นที่ ณ เกาะพะลวย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้คณะทำงานได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมวางแผนงานกับผู้นำชุมชนและคนในท้องถิ่น อันจะทำให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่นให้มากที่สุด ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่เกาะพะลวยในครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 – 12 ตุลาคม 2559 งานบริการวิชาการฯ ได้สำรวจเส้นทางท่องเที่ยว วิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนปัญหาของชุมชน นำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับจัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาให้กับชุมชนเกาะพะลวย ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นแผนปฏิบัติการจำนวน 15 โครงการ โดยงานบริการวิชาการฯ ได้รับความร่วมมือจากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยในการร่วมกันขับเคลื่อน 15 โครงการดังกล่าว วันวนัทธ์ วรภู รายงาน / ถ่ายภาพ
งานบริการวิชาการฯร่วมประชุมหารือคณะพยาบาลฯพร้อมผู้นำชุมชนขุนทะเล เร่งเปิดรร.ผู้สูงอายุ ยัน! หลักสูตรพร้อมใช้ เชื่อมั่นความสำเร็จเต็ม100 %
คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ หนุนสุดแรง เร่งเต็มกำลัง ลั่นคณะพยาบาลฯพร้อมช่วยเหลือ ดูแล และเป็นพี่เลี้ยงตลอดโครง ด้าน ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เผยเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตอีกหนึ่งมิติของชุมชนขุนทะเล ตามปณิธานมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 13.00 น. (18 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมเพื่อหารือเรื่องการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ณ ห้องพุทธิชีวิน คณะพยาบาลศาสตร์ โดยมี ดร.จิราพร วัฒนศรีสิน คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้นำและจิตอาสา ของหมู่ที่ 10 ตำบลชุมชนขุนทะเล เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย …..เนื่องจากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กำหนดจัดโครงการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนขุนทะเล ซึ่งได้ดำเนินการประชุมทำความเข้าใจร่วมกันในวันที่ 7 ธันวาคม 2560 ไปแล้วนั้น โดยผลการประชุมในครั้งดังกล่าวให้ผู้ใหญ่บ้านคัดเลือกตัวแทนจิตอาสา จำนวน 5 คน เพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินงานและประสานงานระหว่างชุมชน นอกจากนี้ ได้กำหนดจัดประชุมอีกครั้งเพื่อทำความเข้าใจและรับทราบถึงกระบวนการในการดำเนินงานพร้อมทั้งกำหนดปฏิทินและระยะเวลาการทำกิจกรรมตามโครงการดังกล่าวด้วย …..ดร.จิราพร วัฒนศรีสิน คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ได้กล่าวว่า คณะพยาบาลมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ดำเนินงานร่วมกับงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ในโครงการเปิดโรงเรียนผู้อายุในพื้นที่ชุมชนขุนทะเล…