นิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง

กองกำกับตระเวนชายแดนที่ 41 ร่วมกับ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี นิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตามโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงตำรวจตระเวนชายแดน ระยะที่ 2 ประจำปี 2560

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดันสินค้าชุมชน (OTOP) เดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความยั่งยืนของคนในชุมชน

     เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ และนายอรุณ หนูขาว พร้อมด้วยชาวบ้านชุมชนขุนทะเล ได้นำสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านมาจัดแสดงจำหน่าย ณ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตามแนวทางการยกระดับรายได้ให้กับชาวบ้านชุมชนขุนทะเลของมหาวิทยาลัย โดยเดินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความยั่งยืนของคนในชุมชน      ชาวบ้านชุมชนขุนทะเลได้มีการนำสินค้า มาวางเพื่อจำหน่าย เช่น กระเป๋าเชือกร่ม ดอกไม้กระดาษ ผ้าปาเต๊ะปักลูกปัด ฯลฯ “ฝีมือดี คุณภาพเยี่ยม ลายสวย ราคาเป็นกันเอง”      นายวสันต์ สุทธโส ผู้ช่วยอธิการบดี เผยว่า ยินดีอย่างยิ่งที่ชาวบ้านชุมชนขุนทะเลที่นำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาวางจำหน่ายในศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าสถานที่  สนใจสามารถติดต่อได้ที่สำนักจัดการทรัพย์สิน โทร. 0 7791 3344 ,0 7791 3333 ต่อ 3500

ราชภัฏสุราษฎร์ฯ อบรมครู ตชด. ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาตามแนวพระราชดำริ

     เมื่อวันที่ 1 – 5 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ( มรส. ) จัดอบรมครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ประจำปี 2560 มุ่งพัฒนาส่งเสริมความรู้คุณภาพการศึกษา ช่วยเหลือนักเรียนถิ่นทุรกันดาร ด้วยวิธีการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานเข้ากับเนื้อหาวิชา ผ่านครูตำรวจตระเวนชายแดนที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ทั้งที่ไม่ได้มีอาชีพครูโดยตรงแต่จะทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ      ผศ.สมทรง นุ่มนวล รักษาการณ์อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวในพิธีเปิดการอบรมโครงการการจัดอบรมครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัด กก.ตชด. 41 หลักสูตรสาระวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สำหรับครูในศตวรรษที่ 21 ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ทั้งครูผู้สอนและนักเรียนให้มีมาตรฐานคุณภาพที่ทัดเทียม ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งในการด้านการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนสื่อวัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอน การนิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียน การพัฒนาและส่งเสริมให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนชุมชน ซึ่งการจัดอบรมในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนสาระวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่มีผลการประเมินยังอยู่ในระดับต่ำกว่าสาระวิชาอื่นๆ จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่…

มรส. เดินหน้าบริการวิชาการ พื้นที่เกาะพะลวย

     เมื่อวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2560 คณะกรรมการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 28 คน ลงพื้นที่ ณ เกาะพะลวย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้คณะทำงานได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมวางแผนงานกับผู้นำชุมชนและคนในท้องถิ่น อันจะทำให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่นให้มากที่สุด      ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่เกาะพะลวยในครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 – 12 ตุลาคม 2559 งานบริการวิชาการฯ ได้สำรวจเส้นทางท่องเที่ยว วิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนปัญหาของชุมชน นำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับจัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาให้กับชุมชนเกาะพะลวย ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นแผนปฏิบัติการจำนวน 15 โครงการ โดยงานบริการวิชาการฯ ได้รับความร่วมมือจากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยในการร่วมกันขับเคลื่อน 15 โครงการดังกล่าว วันวนัทธ์ วรภู รายงาน / ถ่ายภาพ

ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

     เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) จำนวน 30 คน ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา  เพื่อศึกษางานด้านการบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น โดยมี ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ ให้การต้อนรับสำหรับมหาวิทยาลัยพะเยาก่อตั้งเมื่อปี 2538 เดิมทีเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ต่อมาในปี 2553 ได้แยกตัวมาเป็นมหาวิทยาลัยพะเยาอย่างเต็มตัว     มหาวิทยาลัยพะเยาเป็นมหาวิทยาลัยในอ้อมกอดขุนเขา มีภูมิศาสตร์สวยงามภายใต้เนื้อที่ 5,700 ไร่ จัดเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีนักศึกษาประมาณ 49,000 คน มีถึง 15 คณะ 2 วิทยาลัย (มีมากกว่า 100 สาขา) ได้แก่…คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะนิติศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์…

ศึกษาดูงานบริการวิชาการท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

  คณะกรรมการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน ศึกษาดูงานบริการวิชาการท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เมื่อเร็ว ๆ นี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ก่อตั้งเมื่อปี 2481 ในชื่อ “โรงเรียนเกษตรกรรมน่าน” ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยเกษตรกรรม” ในปี 2517 แยกตัวมาเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรน่าน” ในปี 2518 ต่อมาในปี 2531 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” ก่อนยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน”    เมื่อปี 2548 ที่นี่เปิดสอน 3 คณะ 11 สาขาวิชา ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจและศิลปกรรม โครงการหลักด้านบริการวิชาการที่ มทร.ล้านนา น่าน ขับเคลื่อนมี 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วม…

ศึกษาดูงาน ณ วิสาหกิจชุมชนชีววิถี ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน

     เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) จำนวน 30 คน ศึกษาดูงาน ณ วิสาหกิจชุมชนชีววิถี ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน สำหรับวิสาหกิจชุมชนชีววิถีก่อตั้งโดยกลุ่มชาวบ้าน 70 คน เมื่อปี 2550 ปัจจุบันมีสมาชิกถึง 673 คน ได้รับรางวัลวิสาหกิจชุมชนดีเด่นประจำปี 2559 วิสาหิจชุมชนดังกล่าวเน้นการนำสมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ใบหมี่ ดอกอัญชัน มะเฟือง มะกรูด มะขาม ขมิ้นชัน เป็นวัตถุดิบผลิตเป็นของใช้ในครัวเรือนจำพวกแชมพู สบู่ ครีมทาผิว โดยไม่ใช้สารเคมีและจำหน่ายในราคาย่อมเยา ทุกเช้าชาวบ้านจะเก็บสมุนไพรมาขาย เช่น ใบหมี่ซึ่งแต่เดิมเป็นพืชที่ไม่มีค่าและขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่      แต่ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้รับซื้อใบหมี่ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท นำมาผลิตเป็นแชมพูลดปัญหาผมร่วงผมบาง และกลายเป็นสินค้าขายดีอันดับ 1 โดยทุกวันนี้ต้องใช้ใบหมี่ถึงวันละ 60 กิโลกรัมถึงจะเพียงพอต่อความต้องการ ส่วนสินค้าขายดีอันดับ 2…

มรส. เน้นคุณภาพการศึกษา ร.ร. ตชด 41 ตามแนวพระราชดำริฯ

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2559 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมคณะเดินหน้าเต็มตัวนิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านตะแบกงาม ประจำปี 2560 ระยะ 1 เพื่อเน้นคุณภาพการศึกษาเด็กในโรงเรียน

สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติประจำปี 2556

โครงการ    สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติประจำปี 2556 งบประมาณ   150,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน     อาคารทีปังกรรัศมีโชติและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระยะเวลา     18-20 ส.ค. 56 การบูรณาการ     การสอน มี    การวิจัย  มี ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 077-355666

อบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสอนผ่านสื่อออนไลน์

โครงการ    อบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสอนผ่านสื่อออนไลน์ งบประมาณ    46,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน     คณะครุศาสตร์ ระยะเวลา     ส.ค. 56 การบูรณาการ     การสอน มี    การวิจัย  – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์     อ.นุชนารถ นาคฉายา 082-9108448

End of content

End of content