Similar Posts
งานบริการวิชาการฯร่วมหารืออาจารย์หลักสูตรภาษาจีน เตรียมเปิดโครงการฝึกอบรมระยะสั้น เล็ง Level upนำผู้เข้าอบรมเยือนแดนมังกร
ด้านคณาจารย์ภาษาจีนเห็นพ้องกลุ่มเป้าหมายนักเรียน และบุคคลทั่วไป หวังยกระดับการทำหลักสูตรระยะสั้น รับหลักการดำเนินโครงการพร้อมเสนอผู้บริหารแล้วเสร็จปลายเดือน สิงหาคม 2561 นี้ …..เมื่อเวลา 09.00 น. (9 สิงหาคม 2561) ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมคณะทำงานเดินทางไปยังสาขาวิชาภาษาจีน ชั้น 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อร่วมหารือการเปิดหลักสูตรระยะสั้น โดยมีนายวิษณุ แก้วมีวงศ์ และนายดุษฎี ช่วยพลัด นิติกร จากงานวินัยและนิติการร่วมเข้าประชุมเพื่อให้คำปรึกษาในด้านกฏหมายและระเบียบต่างๆในการจัดอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ ในการเปิดหลักสูตรดังกล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีแนวคิดที่จะสร้างหลักสูตรระยะสั้นซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินงานและต้องร่วมกันหารือกับคณาจารย์ผู้สอนภาษาจีน เพราะปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยประสบปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษาทีมีค่อนข้างน้อย ดังนั้นการเปิดหลักสูตรอบรมระยะสั้นจึงเป็นอึกทางเลือกหนึ่งที่จะเพิ่มศักยภาพและการบริหารจัดการให้กับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ถ้าการนำเสนอโครงการดังกล่าวได้รับการอนุมัติ งานบริการวิชาการฯจะเป็นฝ่ายทำหน้าที่ธุรการ ประชาสัมพันธ์ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เช่น จังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร และกระบวนการทุกระบบ ซึ่งได้ร่วมพูดคัยกับดร.พิชัย สุขวุ่น คณณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในเบื้องต้นแล้ว และได้ข้อสรุปว่า ภาษาจีนจะเป็นหลักสูตรที่เป็นกลไกขับเคลื่อน การทำหลักสูตรอบรมระยะสั้นได้เป็นอย่างดี …..ด้าน ดร.ภูมิ พรหมพาหกุล ประธานสาขาวิชาภาษาจีน ได้ให้ความเห็นว่า อาจารย์ในสาขาวิชาภาษาจีนเห็นด้วยที่จะดำเนินการจัดทำหลักสูตรอบรมระยะสั้น…
บริการวิชาการฯ มรส. รือเกี่ยวกับหลักสูตรและกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถาบันการศึกษา
…..ฝ่ายบริการวิชาการฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ได้หารือร่วมกับ ผศ.พรวิไล อุ้ยดำรงธรรม ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภายใน และอาจารย์ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์ ผู้แทนจากคณะนิติศาสตร์ เพื่อหารือเกี่ยวกับหลักสูตรและกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถาบันการศึกษา …..การหารือได้ข้อสรุปว่า ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผศ.พรวิไล อุ้ยดำรงธรรมและอาจารย์ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์ จะเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการในการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถาบันการศึกษา ในวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2560 ณ ห้องแกรนด์บอลลูม โรงแรมริชมอนด์ กรุงเทพมหานคร โดยได้เตรียมประเด็นเกี่ยวกับหลักสูตรและกิจกรรมไว้ 3 ส่วนคือ กิจกรรมในรายวิชากลุ่มวิชาพื้นฐาน การอบรมให้ความรู้กับอาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย กิจกรรม anti corruption : Young Turks และจะนำเสนอในที่ประชุมดังกล่าว …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆอย่างหลากหลายกิจกรรม เราพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคมให้เป็นสังคมที่น่าอยู่และมีความสุขในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการฯ ร่วมกับ UBI ลงพื้นที่หมู่ 5 ขุนเลติดตาม ความก้าวหน้าโครงการสายใยรักฯ – เศรษฐกิจพอเพียง
ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ ฟิตเปรี๊ย ! เสนอองค์ความรู้ ใส่พานให้ชุมชน พร้อมเสิร์ฟอบรม CPR – ตลาดออนไลน์ ย้ำกับชาวบ้านขุนเล อยากให้มรส.ช่วยอะไรขอให้บอก พร้อมจัดให้เสมอ …..เมื่อเวลา 12.45 น. (17 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดยดร.สมราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและคณะ พร้อมด้วยผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ณ สำนักงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 5 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้นำชุมชนและแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า ชาวบ้านชุมชนหมู่ที่ 5 ขุนทะเลมีความต้องการทำกิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และ เลี้ยงไก่อารมณ์ดี ในโครงการโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ปีงบประมาณ 2561 …..ตามที่ได้แจ้งไว้ที่ประชุมครั้งก่อน (8 พฤศจิกายน 2560) ซึ่งวันนีร้ทีมงานบริการวิชาการฯและทีมบ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางมาติดตามความก้าวหน้า…
มรส.โดยงานบริการวิชาการฯ ลงพื้นที่ หมู่ที่ 8 สนับสนุนองค์ความรู้ตามความต้องการของชุมชน พร้อมชู พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกง น้ำยาเอนกประสงค์
…..ชาวบ้านร่วมประทับตราแบรนด์ “ขุนเล” เครื่องแกงสุดแซบ น้ำยาฯสุดคลีน หวังตีตลาด ดันขึ้นห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ด้านเครือข่ายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร พร้อมถ่ายทอดเทคนิควิธีตีตลาด …..เมื่อเวลา 10.00 น. (9 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI และทีมงาน ได้เดินทางไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 8 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามและขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยถึงผลการลงพื้นที่ในหมู่บ้านดังกล่าวว่า จากที่ได้พูดคุยกับนายวิรุท แก้วสงค์ ผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มชาวบ้านหมู่ที่ 8 ได้ข้อสรุปในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานอันเนื่องมาจากชุมชนดังกล่าวมีความต้องการทำกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงและน้ำยาเอนกประสงค์ โดยยังขาดความรู้ในการผลิต ดังนั้น จึงได้ประสานไปยังหน่วยงานเครือข่ายงานบริการวิชาการ คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสาขาวิชาชีววิทยา เพื่อดำเนินการอบรมให้ความรู้การผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพตามเกณฑ์ ซึ่งจะจัดอบรมในวันที่ 10 มีนาคม 2561 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี …..ในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกง ในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและรสชาติที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค…
ชาวสุราษฎร์ธานีรวมใจถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการเข้าร่วมรายการแหลงข่าวเช้านี้ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จ.สุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับโครงการชาวสุราษฎร์ธานีรวมใจถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์ โดยมหาวิทยาลัยจัดงานนี้ร่วมกับเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาชุมชนจ.สุราษฎร์ธานี สำนักงานวัฒนธรรม จ.สุราษฎร์ธานี และสำนักงานประชาสัมพันธ์ จ.สุราษฎร์ธานี โครงการนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 26 สิงหาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ณ ตลาดถนนคนเดิน บริเวณสะพานนริศ ริมเขื่อนแม่น้ำตาปี อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อรวมพลังชาวสุราษฎร์ธานี ร่วมกันประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์เพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และแสดงถึงความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี