…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้เดินทางไปยังศูนย์การศึกษาสำหรับชาวพม่า (วัดโพธิ์หวาย) เพื่อเยี่ยมชมและร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะสามารถให้การช่วยเหลือได้ โดยศูนย์แห่งนี้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆลูกหลานชาวพม่าที่เข้ามาขายแรงงานในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีคุณครูชาวพม่าเป็นผู้สอน ทั้งนี้สามารถเทียบโอนกับการเรียนในโรงเรียนที่ประเทศพม่าได้ …..ตลอดระยะเวลาร่วม 2 ชั่วโมงที่พวกเราได้มีโอกาสสัมผัสเด็กๆ คุณครู และคณะกรรมการผู้จัดการเรียนการสอน สิ่งหนึ่งที่พวกเรารู้สึกเหมือนกันคือ ภายใต้ความอัตคัตของค่าใช้จ่ายและความพร้อมทางการศึกษานั้น มีความตั้งใจอันงดงามของความพยายามในการเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเองแฝงอยู่ เด็กๆที่นี่อยากเรียนภาษาไทย คุณครูที่นี่อยากมีใบอนุญาตทำงานที่ตรงกับอาชีพ คณะกรรมการอยากมีกองทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ยากลำบาก ทุกคนต่างมีหัวใจอันบริสุทธิ์ที่มีต่อกันในฐานะมนุษย์ผู้พลัดถิ่นทั้งสิ้น …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะหาแนวทางในการนำเอาทุกกำลังความสามารถที่เรามีเพื่อยื่นมือเข้าหาพี่น้องในท้องถิ่นโดยไร้เส้นแบ่งในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น