ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับสมัครสอบ TOEIC
ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับสมัครสอบ TOEIC
ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับสมัครสอบ TOEIC
ประชาชน บ้านคลองเรือชื่นมื่น มรส.ร่วมสนับสนุนยกระดับการพัฒนาอาชีพ ผู้นำชุมชนเผยเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อเวลา 08.30 น. (27 พฤษภาคม 2563) คณะผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยฯ เพื่อร่วมงานกิจกรรมคัดสรรพัฒนาชุมชนดีเด่นประจำปี 2563 กิจกรรมคัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข”และกิจกรรมเชิดชูเกียรติ คนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประจำปี 2563 ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านคลองเรือ ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี โดยมีนายบรรเจิด สาริพัฒน์ นายอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการเปิดงาน ทั้งนี้ ได้มีผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว คือ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ผศ.ดร.ลักษมี ชัยเจริญวิมลกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะทำงานพร้อมทั้งคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหัวหน้าส่วนราชการจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายวิรุท แก้วสงค์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านคลองเรือ ได้เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรมดังกล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้คัดสรรบ้านคลองเรือเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง“อยู่เย็น เป็นสุข”และกิจกรรมเชิดชูเกียรติ คนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี…
…..เมื่อเวลา 08.30 น.(16 กุมภาพันธ์ 2561) ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันวิภาวดีรังสิตรำลึก ณ บริเวณลานพระอนุสาวรีย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ค่ายวิภาวดีรังสิต จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีพลตรีมโนช จันทร์คีรี ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 45 เป็นประธานในพิธี …..พิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และสำนึกในพระมหากรุณาที่คุณของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ที่มีต่อประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยทรงเป็นองค์สัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญในการทำงานเพื่อขจัดความขัดแย้งในชาติในแผ่นดิน การเสียสละพระชนม์ชีพของพระองค์ได้นำมาซึ่งความพยายามในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างพี่น้องชาวไทยที่แตกแยกกันทางความคิด ส่งผลให้เกิดความสงบสุขกับบ้านเมืองในที่สุด ชาวราชภัฏสุราษฎร์ธานี ขอร่วมเทอดไท้ความหาญกล้าแห่งพระองค์ท่านอย่างผู้มีกตัญญูรู้คุณร่วมกับพี่น้องชาวสุราษฎร์ธานี …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการนำเอาตัวอย่างของความทุ่มเทในการทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน ดังที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ทรงเป็นแบบอย่างอันงดงามเพื่อนำมาพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้อง ดังปณิธานที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานสมยศ นุ่นจำนงค์ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2562 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนายกระดับศักยภาพอาจารย์ผู้สอนและการบูรณาการการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่น ณ ห้องประชุมศิริประภา เขื่อนรัชชประภา อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งการจัดอบรมในวันนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ประพัณฐ์ หลวงสุข “การขอตำแหน่งทางวิชาการด้านการรับใช้สังคม” และ ผศ.ดร.เจษฎา มิ่งฉาย ”เทคนิคการบูรณาการการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่น” ให้เกียรติเป็นวิทยากรและถ่ายทอดความรู้พร้อมทั้งประสบการณ์จากการทำงานให้กับผู้เข้าร่วมอบรม
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผยนำนักศึกษาจิตอาสา มรส.รวมพลังทำความสะอาด ทาสีศาลาการเปรียญ ย้ำราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ต้องร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นอย่างเต็มกำลัง …..เมื่อเวลา 09.00 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยกองพัฒนานักศึกษา นำทีมตัวแทนนักศึกษาจิตอาสา จำนวนกว่า 50 คน ร่วมทำความสะอาดวัดกลางใหม่ ซึ่งวัดดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งพระเมรุมาศจำลองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย หน่วยงานทุกภาคส่วน ได้พร้อมใจกันทำความสะอาด กวาดพื้นที่บริเวณวัด และร่วมกันทาสีรอบๆ ศาลาการเปรียญ …..ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมครั้งนี้ว่า “วันนี้ เป็นวันครบรอบ 1 ปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคต ซึ่งประชาชนทั้งประเทศร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสา และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีก็เช่นเดียวกัน “เราได้นำนักศึกษาร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนทำความสะอาดกวาดพื้นบริเวณวัด และช่วยกันทาสีศาลาการเปรียญวัดกลางใหม่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดนิทรรศการสำหรับงานพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะเป็นที่เป็นมหา วิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นและปวารณาตนเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน เพราะฉะนั้นเราจึงพยายามมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและจังหวัด เมื่อทางจังหวัดร้องขอมหาวิทยาลัยฯมีความยินดีที่ร่วมกิจกรรมดังกล่าวและที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลครบ 1 ปี สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9”…
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ลั่นกลางประชาคม มรส.พร้อมสนับสนุนองค์ความรู้ เปิดโลกทัศน์ให้ประชาชนชาวไชยาด้วยสรรพวิชาทุกศาสตร์ ย้ำชัด จังหวัดเคลื่อนที่ไปที่ใด มรส.จะไปที่นั่น …..ทั้งนี้บรรยากาศของงานได้มีกิจกรรมการแจกถุงยังชีพให้กับประชาชนในพื้นที่และมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และคณะ ได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการตามบูธต่างๆที่มาให้บริการประชาชนพร้อมทั้งร่วมสนทนากับผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆอย่างเป็นกันเอง…..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวว่า วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำองค์ความรู้ทั้ง 5 ภาคส่วนร่วมกับโครงการจังหวัดเคลื่อนที่มาให้บริการประชาชนในพื้นที่อำเภอไชยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ส่งเสริมศักยภาพยกระดับการดำรงชีวิตด้านวิชาการให้กับชาวชุมชน ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย จากคณะนิติศาสตร์ การจัดการร้านค้าปลีก 8 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ จากคณะวิทยาการจัดการ และตามรอยพ่อ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการนำเสนอสถานที่ที่พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ในหลวงราชกาลที่ 9 ทรงเสด็จ จากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานียังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้ภาษาของเยาวชนในพื้นที่อำเภอไชยา โดยจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาการเรียนภาษาสมัยใหม่ จากศูนย์ภาษา ส่งเสริมการอ่านและเทคโนโลยีหนังสือสามมิติ จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งการต่อยอดเพิ่มผลผลิตให้กับชาวชุมชน โดยวิธีการแปรรูปอาหารโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
…..เมื่อเวลา 11.00 น. งานบริการวิชาพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยังโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ เผือกคง รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและคณะทำงานบริการวิชาการ ได้ร่วมประชุม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดสุราฎร์ธานี (อพ.สธ. -จ.สุราษฎร์ธานี) …..ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ แปลงที่ 10 แปลงป่าอนุรักษ์ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ โดยได้ดำเนินการปลูกพันธ์ไม้ 15 ชนิด จำนวน 450 ต้น บำรุงรักษาพันธ์ไม้เดิมที่มีอยู่ภายในแปลง ได้วางแผนดำเนินงานพัฒนาปรับปรุงพื้นที่แปลงป่าอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืนของชุมชน และเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบของโครงการ อพ.สธ. อย่างมีประสิธิภาพ