กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น
  • ภาพกิจกรรม
  • ผังเว็บไซต์
  • ไทย
  • English
  • 中文 (中国)
Search
  • หน้าเเรก
  • เกี่ยวกับหน่วยงาน
    • ประวัติความเป็นมา
    • ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • ยุทธศาสตร์
    • โครงสร้างการบริหาร
    • โครงสร้างหน่วยงาน
    • บุคลากร
    • คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
    • คู่มือมาตรฐานการให้บริการ
    • ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    • รายงานผลความพึงพอใจการให้บริการ
    • การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
  • กลุ่มงาน
    • บริหารงานทั่วไป
    • งานขับเคลื่อนตามพระราโชบาย
    • งานสนองงานพระราชดำริ
    • บริการวิชาการ
  • ระบบสารสนเทศ
    • ระบบบันทึกการปฏิบัติงาน I-Jobs
    • ระบบสารบรรณ E-Document
    • ระบบสารสนเทศ MIS
    • ระบบอีเมล์บุคลากร E-mail
    • ระบบสารสนเทศ HRIS
    • ระบบสารสนเทศ EIS
    • ระบบสารสนเทศ E-GP
    • ระบบสารสนเทศ GFMIS
  • โรงเรียน ตชด. 41
    • โรงเรียน ตชด.สันตินิมิตร
    • โรงเรียน ตชด.บ้านพันวาล
    • โรงเรียน ตชด.บ้านควนสามัคคี
    • โรงเรียน ตชด.บ้านห้วยเหมือง
    • โรงเรียน ตชด.บ้านตะเเบกงาม
    • โรงเรียน ตชด.บ้านสวนเพชร
    • โรงเรียน ตชด.สิริราษฎร์
    • โรงเรียน ตชด.บ้านกอเตย
    • โรงเรียน ตชด.บ้านยางโพรง
    • โรงเรียน ตชด.บ้านคลองวาย
    • โรงเรียน ตชด.ทคนิคมีนบุรีอนุสรณ์ 1
  • ข่าวIกิจกรรม
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • Upcoming Events
    • กิจกรรมกองบริการ
    • Past Events
    • Event List
    • Event Grid
    • Event Calendar
  • เอกสารเผยแพร่
    • แบบฟอร์ม
    • คู่มือ
    • ข้อมูลบริการวิชาการ
    • รายงานการประชุม
    • รายงานผลวิชาการ
  • ปฎิทินบริการวิชาการ
  • สายตรงหน่วยงาน
  • ติดต่อ

ประวัติความเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้กู้เงินจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นในโครงการมิยาซาว่า เพื่อมากระตุ้น เศรษฐกิจของประเทศ โดยให้รับบัณฑิตที่จบการศึกษา มาทำงานเพื่อสร้างงานสร้างรายได้และแก้ปัญหาบัณฑิตว่างงาน รู้จักกันในชื่อ “บัณฑิตมิยาซาว่า” หมายถึง บัณฑิตที่ทำงานในโครงการมิยาซาว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะทำงานเกี่ยวกับการสนับสนุนภารกิจขององค์กรต่าง ๆ ตามความจำเป็น

ในส่วนของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น ณ อาคารหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ โดยการกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ (ผศ.เนาวรินทร์ ชนะทัพ) และมี คณะทำงานของศูนย์ศึกษาฯ โดยมีอาจารย์นิกร บุญญานุกูล เป็นประธาน และมีบุคลากรการประจำศูนย์ จำนวน 5 คน (จากการรับสมัคร บัณฑิตมิยาซาว่า) มีภารกิจในการอบรมและบริการวิชการในการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น และการอบรมวิทยากรกระบวนการ ให้แก่นักศึกษาของสถาบันตามนโยบายของคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดย มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ จำนวน 18 เดือน เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ รองอธิการบดีฝ่ายวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ (ผศ.เนาวรินทร์ ชนะทัพ) ได้จัดตั้งสำนักชุมชนสัมพันธ์เพื่อดำเนินการ ภารกิจดังกล่าวต่อ โดยมีอาจารย์สุมาลี จิระจรัส เป็นผู้อำนวยการสำนักชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งมีภารกิจ ดังนี้

  • โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
  • โครงการกองทุนหมู่บ้าน
  • โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)
  • โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น
  • บูรณาการงานสำนักชุมชนสัมพันธ์กับงานศิลปวัฒนธรรม

ในปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เปลี่ยนชื่อสำนักชุมชนสัมพันธ์ เป็น กองกิจการพิเศษ เพื่อให้มีภารกิจครอบ คลุมมากขึ้น โดยขึ้นกับสำนักงานอธิการบดี ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มี ผศ.ราตรี นันทสุคนธ์ เป็นผู้อำนวย การกอง ซึ่งภารกิจของกองกิจการพิเศษ มีดังนี้

  • โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
  • โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)
  • โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น
  • โครงการสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมของชุมชน

ลังจากนั้นมหาวิทยาลัยฯ ได้เปลี่ยนแปลงผู้บริหารตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ เนื่องจาก ผศ.เนาวรินทร์ ชนะทัพ ลาออก เพราะมีปัญหาด้านสุขภาพ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งอาจารย์อร่ามรัศมิ์ ด้วงชนะ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษและมี ผศ.อภิชาติ พัฒน วิริยะพิศาล เป็นผู้อำนวยการกองกิจการพิเศษ กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการบริหารมหาวิทยาลัยฯ อีกครั้ง โดยให้ ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด มาดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ และแต่งตั้ง อาจารย์สาคร รักบำรุง มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการกองกิจการพิเศษ จนถึงปี พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนผู้อำนวยการกองกิจการพิเศษ เป็น อาจารย์สมชาย สหนิบุตรdas-sru

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2554 อธิการบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน) ได้มีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อกองกิจการพิเศษ เป็น กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับ พันธกิจของมหาวิทยาลัย อยู่ภายใต้การบริหารงานของรองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการ(ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด) และมีอาจารย์สมชาย สหนิบุตร เป็นผู้อำนวยการกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจ ที่สำคัญ ดังนี้

  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ
  • พัฒนางานบริการวิชาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
  • ส่งเสริมเผยแพร่ผลงานวิชาการและนวัตกรรมทั้งในระดับบุคคลและองค์กรในท้องถิ่น
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่นให้สามารถเรียนรู้และพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
  • สนองงานโครงการตามแนวพระราชดำริเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ที่ตั้งสำนักงาน กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ตั้งสำนักงานอยู่ที่ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ : 0 7791 3324 โทรสาร : 0 7791 3309

   facebook google plus youtube instagram

back    next

Subscribe Weekly Newsletter

Contact Info

  • โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการ พัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 272 หมู่ 9 ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100

  • Telephone0 7791 3324

  • International 0 7791 3309

  • email das.sru@sru.ac.th

External Link

  • โครงการ อพ.สธ.-มรส.
  • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41
  • suratlink

หมวดหมู่ข่าวสาร

  • ข่าวกิจกรรม
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ข่าวสาร ITA
  • บริการวิชาการ
  • หลักสูตรอบรม
แบบฟอร์มออนไลน์

©2019 Local Development Academic Service Division SRU.

Follow us