ห้องสมุดเพื่อน้อง

โครงการ    ห้องสมุดเพื่อน้อง งบประมาณ   15,500 บาท สถานที่ดำเนินงาน     โรงเรียนบ้านบารูป ม.4 ต.สินเจริญ อ.พระแสง ระยะเวลา     25 ธ.ค. 55 การบูรณาการ     การสอน –    การวิจัย  – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์     น.ส.อมรรัตน์ แซ่กวั่ง 089-9742826

แข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

โครงการ    แข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย งบประมาณ    17,642 บาท สถานที่ดำเนินงาน     ห้องปัจจักขภัติ ชั้น 3 คณะวิทยาการจัดการ ระยะเวลา     19 ส.ค. 56 การบูรณาการ     การสอน มี    การวิจัย  – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์     อ.สินีนาฎ มุสิกะ 088-7613752

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส.จับมือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2559 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับ กองอาคาร  สถานที่และภูมิทัศน์และสาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ระดมบุคลากรกองอาคารและสถานที่ปรับภูมิทัศน์ในบริเวณแปลงป่าอนุรักษ์ และนักศึกษาร่วมทำทางเดินศึกษาธรรมชาติและสำรวจพันธุ์ไม้ในพื้นที่แปลงป่าอนุรักษ์ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี        ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นกล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานีกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมอบหมายพื้นที่ แปลงป่าอนุรักษ์ให้มหาวิทยาลัยฯดูแล จำนวนกว่า 3 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในนามของมหาวิทยาลัยฯ       ด้านนายอรุณ  หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า การดำเนินงานสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นั้น งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้รับความร่วมมือจาก คณาจารย์และนักศึกษาจากสาขาวิชาพืชศาสตร์และบุคลากรจากกองอาคารสถานที่ในการดำเนินการดูแลรักษาพื้นที่ รวมทั้งมีการสำรวจ จัดหาพรรณไม้ประจำถิ่น…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ตะลุยรับใช้สังคมหวังสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้

ในระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานสนองงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับผู้นำท้องที่  แกนนำสายใยรักแห่งครอบครัว และประชาชน หมู่ที่ 9 บ้านภูธรอุทิศ ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรม ร้อยรักถักทอ สายสานใย ร้อยใจชุมชน ขึ้น ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านภูธรอุทิศ       ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการรับใช้สังคม การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการสนองงานโครงการตามแนวพระราชดำริในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ผ่านการรวมกลุ่มจัดกิจกรรม การทำน้ำยาเอนกประสงค์ เพื่อลดรายจ่าย และกิจกรรมถักทอตะกร้าจากไหมเชือกร่ม เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์      ด้านนายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในหมู่ที่ 9…

มรส.ขับเคลื่อนพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอนสัก-พะลวย

     เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 คณะกรรมการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 25 คน ร่วมประชุมกับตัวแทนชาวอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อประชุมวางแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพะลวย ณ ที่ว่าการอำเภอดอนสัก       สำหรับโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพะลวย มีด้วยกันทั้งหมด ๒๔ โครงการ อาทิ อบรมภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว, การประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวผ่านเว็บไซต์, ธนาคารอาหารชุมชม, การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับประชาชนทั่วไป เป็นต้น โครงการทั้งหมดได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากชุมชน วันวนัทธ์ วรภู รายงาน / ถ่ายภาพ

พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้รำข้าวสาลีในอาการเป็ด

โครงการ พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้รำข้าวสาลีในอาการเป็ด งบประมาณ 140,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน ต.เมล็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลา มี.ค.-พ.ค. 56 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย มี ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ ผศ.โสภณ บุญล้ำ 081-0812300

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ติวเข้ม เตรียมการประกันคุณภาพการศึกษา

 เมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2557 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นน่าอยู่ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน (ศวภ.ใต้ตอนบน) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และศูนย์จัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราชและศูนย์จัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลบ่อ แสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา จัดโครงการประชุมสร้างการเรียนรู้และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือเครือข่าย ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ (ภาคใต้ตอนบน) ขึ้น ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผศ.นรินทร์ สุขกรี รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการสัมมนาดังกล่าวเป็นการเตรียมการและเตรียมความพร้อมของหน่วยงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน ในการรับการประเมินคุณภาพ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักจึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้น นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า การจัดโครงการดังกล่าวเพื่อต้องการให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคมของหน่วยงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน ได้เตรียมการใน 2 ส่วน คือ 1) การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2558 ของหน่วยงานและการติดการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน โดยได้เชิญอาจารย์โสภา ปุ่นสุวรรณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประสานงานงบประมาณ เป็นวิทยากรบรรยาย และในส่วนที่ 2 คือการเตรียมการและเตรียมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาในองค์ประกอบที่…

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จับมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หวังสร้างเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้ตอนบน

เมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2557 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน (ศวภ.ใต้ตอนบน) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และศูนย์จัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราชและศูนย์จัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา จัดโครงการประชุมสร้างการเรียนรู้และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ (ภาคใต้ตอนบน) ขึ้น ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผศ.นรินทร์ สุขกรี รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า การจัดโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้แนวทางและแผนการขับเคลื่อนโครงการ การใช้เครื่องมือการวิจัยชุมชน การจัดเก็บข้อมูลชุมชนเป็นฐานในการพัฒนา การบูรณาการงานโครงการตำบลสุขภาวะเข้ากับงานประจำและการสร้างจิตอาสาในชุมชนรวมถึงการร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาวะภาคใต้ตอนบน กำหนดทิศทางและแนวทางการทำงาน ของ 5 นักพัฒนา ในการขับเคลื่อนงานโครงการเครือข่ายสุขภาวะภาคใต้ตอนบน สำรวจทุนและศักยภาพในพื้นที่ ที่สอดคล้องกับประเด็นนโยบายสาธารณะ ผลกระทบต่อปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและนโยบายสาธารณะ อันแสดงความเข้มแข็งของพื้นที่ ในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่และกำหนดเป้าหมายของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของแต่ละเครือข่าย (เครือข่ายและศูนย์จัดการเครือข่าย) บนพื้นฐานทุนและศักยภาพของแต่ละเครือข่าย โดยมีแม่ข่าย 2 แห่ง คือ ศูนย์จัดการเครือข่ายเทศบาลตำบลขุนทะเล จำนวน 28 คน และศูนย์จัดการเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแสน จำนวน 17 คน มีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมทั้ง 2 แห่ง…

มรส.ขับเคลื่อนชุมชนหวังสร้างงานสร้างรายได้สู่ประชาชน

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับประชาชนหมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่ประชาชน ภายใต้โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นโครงการตามแนว พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรินทร์ สุขกรี รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ได้ทำหน้าที่สนองงาน โครงการตามแนวพระราชดำริหลายโครงการ ซึ่งหนึ่งในหลายโครงการก็คือ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยในปี 2557 มหาวิทยาลัยฯได้ร่วมกับประชาชนในตำบลขุนทะเลและตำบลมะขามเตี้ย จัดอบรมพัฒนาอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชนเพื่อให้มีทักษะ ฝีมือในการผลิตของใช้ที่จำเป็นในครัวเรือน และหวังสร้างงานสร้างอาชีพ นำไปสู่ความมั่นคง เข้มแข็งด้านอาชีพและรายได้ของประชาชนต่อไป นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า การจัดโครงการดังกล่าว งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ปรึกษาหารือกับผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในตำบลขุนทะเลและตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงประเด็นปัญหา และความต้องการของประชาชน พบว่า ทุกคนมีความเห็นตรงกันว่า ควรจะมีการจัดอบรมพัฒนาอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชนให้มีทักษะ และฝีมือในการผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ต่างๆในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย และสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว โดยได้จัดอบรมอาชีพระยะสั้น การผลิตของใช้ในครัวเรือน เช่น…

“ขอเชิญปวงชาวไทยร่วมประกาศเกียรติยศแห่งแผ่นดิน สร้างอุทยานถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”

End of content

End of content