บริการวิชาการด้านคณิตศาสตร์

โครงการ    บริการวิชาการด้านคณิตศาสตร์ งบประมาณ    73,500 บาท สถานที่ดำเนินงาน     อาคารทีปังกรรัศมีโชติ และศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระยะเวลา     27-28 ส.ค. 2556 การบูรณาการ     การสอน มี    การวิจัย  มี ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์     อ.กันญารัตน์ หนูชุม 083-5922215

บริการวิชาการทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

โครงการ    บริการวิชาการทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ งบประมาณ    49,500 บาท สถานที่ดำเนินงาน     อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระยะเวลา     23-24 เม.ย. 2556 การบูรณาการ     การสอน มี    การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์     อ.มัลลิกา รัตพันธ์ 087-3934170

Update มาตรฐานการบัญชีเพื่อผู้ประกอบการวิชาชีพการบัญชี

โครงการ    Update มาตรฐานการบัญชีเพื่อผู้ประกอบการวิชาชีพการบัญชี งบประมาณ    29,220 บาท สถานที่ดำเนินงาน     ห้องปัจจักขภัติ ชั้น 3 คณะวิทยาการจัดการ ระยะเวลา     29 ส.ค. 56 การบูรณาการ     การสอน มี    การวิจัย  – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์     อ.พรเพ็ญ สุขหนู 086-0001608

เรียนรู้ศักยภาพทรัพยากรวัฒนธรรมในงานพัฒนาชุมชน

โครงการ    เรียนรู้ศักยภาพทรัพยากรวัฒนธรรมในงานพัฒนาชุมชน งบประมาณ    47,400 บาท สถานที่ดำเนินงาน     บ้านห้วยทรายขาว ม.8 บ้านบางลุ ม.7 บ้านขุนทะเล ม.1 ระยะเวลา     11ก.ค.-15 ก.ย. 56 การบูรณาการ     การสอน –    การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์     นางสาวจีรวรรณ ศรีหนูสุด 089-0689044

การอบรมการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อ บริหารรายได้และรายจ่ายของเกษตรกร

โครงการ    การอบรมการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อ บริหารรายได้และรายจ่ายของเกษตรกร งบประมาณ    16,750 บาท สถานที่ดำเนินงาน     ชุมชนห้วยทรายขาว ระยะเวลา     24 ส.ค. 56 การบูรณาการ     การสอน –    การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์     นายชัยณรงค์ จะรา 081-7202178

นิทรรศการศิลปะคณาจารย์ ครั้งที่ 1

โครงการ    นิทรรศการศิลปะคณาจารย์ ครั้งที่ 1 งบประมาณ    79,850 บาท สถานที่ดำเนินงาน     ศาลาเรือนแก้ว คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ระยะเวลา     18-20 ธ.ค. 55 การบูรณาการ     การสอน –    การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์     นายธีรศักดิ์ ทองนุ้ยพราหมณ์ 081-0832404

โครงการบริการวิชาการทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

โครงการบริการวิชาการทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ งบประมาณ100,000 บาท สถานที่ดำเนินงานรร.พุนพินพิทยาคม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลา5-6 มิ.ย. 2556 การบูรณาการ การสอน มีการวิจัย มี

การศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาชุมชนของประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การศึกษา เรื่อง ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและเพื่อนำผลจากการศึกษามาสังเคราะห์เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนการให้บริการวิชาการแก่สังคมของหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการศึกษาภาคสนาม 2 ขั้นตอน คือ ศึกษาบริบทและข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามความรับผิดชอบของคณะ และศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาชุมชนของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 5 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จึงใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) จัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส.จับมือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส.จับมือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นกล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานีกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมอบหมายพื้นที่ แปลงป่าอนุรักษ์ให้มหาวิทยาลัยฯดูแล จำนวนกว่า 3 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในนามของมหาวิทยาลัยฯ ด้านนายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า การดำเนินงานสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นั้น งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้รับความร่วมมือจาก คณาจารย์และนักศึกษาจากสาขาวิชาพืชศาสตร์และบุคลากรจากกองอาคารสถานที่ในการดำเนินการดูแลรักษาพื้นที่ รวมทั้งมีการสำรวจ จัดหาพรรณไม้ประจำถิ่น มาปลูกในพื้นที่เพิ่มเติม พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ รวมทั้งจะพัฒนาต่อยอดให้เกิดป่า 4 ชั้น ในบริเวณแปลงป่าอนุรักษ์ ต่อไป การดำเนินงานโครงการดังกล่าว งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส. หวังว่าจะเกิดการพัฒนาพื้นที่บนพื้นฐานความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากป่าของประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกแหล่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อไป

End of content

End of content