ปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้กู้เงินจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นในโครงการมิยาซาว่า เพื่อมากระตุ้น เศรษฐกิจของประเทศ โดยให้รับบัณฑิตที่จบการศึกษา มาทำงานเพื่อสร้างงานสร้างรายได้และแก้ปัญหาบัณฑิตว่างงาน รู้จักกันในชื่อ “บัณฑิตมิยาซาว่า” หมายถึง บัณฑิตที่ทำงานในโครงการมิยาซาว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะทำงานเกี่ยวกับการสนับสนุนภารกิจขององค์กรต่าง ๆ ตามความจำเป็น
ในส่วนของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น ณ อาคารหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ โดยการกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ ผศ.เนาวรินทร์ ชนะทัพ และมี คณะทำงานของศูนย์ศึกษาฯ โดยมี อาจารย์นิกร บุญญานุกูล เป็นประธาน และมีบุคลากรการประจำศูนย์ จำนวน 5 คน (จากการรับสมัคร บัณฑิตมิยาซาว่า) มีภารกิจในการอบรมและบริการวิชการในการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น และการอบรมวิทยากรกระบวนการ ให้แก่นักศึกษาของสถาบันตามนโยบายของคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดย มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ จำนวน 18 เดือน เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ รองอธิการบดีฝ่ายวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ ผศ.เนาวรินทร์ ชนะทัพ ได้จัดตั้ง “สำนักชุมชนสัมพันธ์เพื่อดำเนินการ” ภารกิจดังกล่าวต่อ โดยมี อาจารย์สุมาลี จิระจรัส เป็นผู้อำนวยการสำนักชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งมีภารกิจ ดังนี้
ปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เปลี่ยนชื่อสำนักชุมชนสัมพันธ์ เป็น “กองกิจการพิเศษ” เพื่อให้มีภารกิจครอบ คลุมมากขึ้น โดยขึ้นกับสำนักงานอธิการบดี ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มี ผศ.ราตรี นันทสุคนธ์ เป็นผู้อำนวยการกอง ซึ่งภารกิจของกองกิจการพิเศษ มีดังนี้
หลังจากนั้นมหาวิทยาลัยฯ ได้เปลี่ยนแปลงผู้บริหารตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ เนื่องจาก ผศ.เนาวรินทร์ ชนะทัพ ลาออก เพราะมีปัญหาด้านสุขภาพ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้ง อาจารย์อร่ามรัศมิ์ ด้วงชนะ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษและมี ผศ.อภิชาติ พัฒน วิริยะพิศาล เป็นผู้อำนวยการกองกิจการพิเศษ กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการบริหารมหาวิทยาลัยฯ อีกครั้ง โดยให้ ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด มาดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ และแต่งตั้ง อาจารย์สาคร รักบำรุง มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการกองกิจการพิเศษ จนถึง ปี พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนผู้อำนวยการกองกิจการพิเศษ เป็น อาจารย์สมชาย สหนิบุตร
เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554 อธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ได้มีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อ กองกิจการพิเศษ เป็น กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับ พันธกิจของมหาวิทยาลัย อยู่ภายใต้การบริหารงานของรองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการ ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด และมีอาจารย์สมชาย สหนิบุตร เป็นผู้อำนวยการ กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจ ที่สำคัญ ดังนี้
ที่ตั้งสำนักงาน กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปี พ.ศ. 2653 รักษาราชการแทนอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม ได้มีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เป็น โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของรองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด และแต่งตั้ง นายอรุณ หนูขาว มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจ ที่สำคัญ ดังนี้
ที่ตั้งสำนักงาน โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ : 0 7791 3324 โทรสาร : 0 7791 3309