Similar Posts
งานบริการวิชาการฯ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะแรต–หาดนางกำเพื่อยกระดับชีวิต ชาวบ้านร้องขอ มรส.อย่าทิ้งชุมชน
ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ชี้ หวังยกระดับคุณภาพชีวิต เล็งพัฒนาสร้างเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว ส่องวิถีชีวิตชาวเกาะ เน้นย้ำไม่เปลี่ยนแปลงบริบทชุมชนแน่นอน …..เมื่อเวลา 12.30 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ส่งมอบคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเกาะแรต ณ ชุมชนเกาะแรต และ ชุมชนบ้านนางกำ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยคู่มือดังกล่าวประกอบไปด้วยรายละเอียดที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ การประกอบอาชีพของชาวบ้าน สังคม ความเชื่อ และพิธีกรรมของชุมชน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุม การบริการด้านการท่องเที่ยว และอื่นๆ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมครั้งนี้ว่า เป็นการส่งมอบคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเกาะแรต–หาดนางกำ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการฯได้จัดทำขึ้นเพื่อการประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพะลวย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีความเป็นธรรมชาติและงดงามมาก การทำคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงเป็นพันธกิจแรกที่เราต้องดำเนินการในความพิเศษของคู่มือดังกล่าวได้จัดทำเป็น 2 ภาษา คือภาษาไทย และภาษาจีน ซึ่งในปีต่อไปเรามีความคิดที่ต่อยอดพัฒนาชุมชนแห่งนี้ ด้วยการจัดทำเว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยว และจะยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกๆด้านที่จำเป็น ……อย่างไรก็ตามจากที่ได้พูดคุยกับผู้นำชุมชน ได้รับทราบถึงปัญหาและจุดอ่อนที่ต้องระดมความคิดจากหน่วยอื่นร่วมกันแก้ไข โดยประเด็นแรกที่เราต้องดำเนินการคือ ปัญหาการจัดการขยะของชาวชุมชน ซึ่งทราบว่าพื้นที่แห่งนี้มีถังขยะน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนขยะที่มีจำนวนมากโดยขยะส่วนใหญ่ได้ถูกกระแสน้ำพัดมาจากที่อื่น ประเด็นที่สองคือมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศน้อยมาก ซึ่งได้วิเคราะห์กันว่า เพราะชุมชนท้องถิ่นแห่งนี้ ไม่มีเพจเฟสบุ๊คแนะนำการท่องเที่ยวหรือเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ดังนั้นเราจึงมีความคิดเบื้องต้นว่าจะดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ…
มรส. เปิดเวทีสัมมนาหวังบูรณาการการจัดการเรียนการสอนสู่ชุมชนท้องถิ่น
คณะทำงานฯลงพื้นที่เป้าหมาย จ.ชุมพร หวังนำผลการสำรวจความต้องการชุมชน เพื่อตลอดหลักสูตรระยะสั้นให้สอดคล้องกับบริบทและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ด้ายอธิการบดีฯเผยเปิดหลักสูตรระยะสั้นไม่ไกลเกินเอื้อมพร้อมยกระดับความรู้สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับมรส. โดยให้ทุนไฟเขียว 10 คน เข้าเรียนมรส. เมื่อเวลา 09.00 น. (8 พฤศจิกายน 2562 ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาโครงการ “ผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อบูรณาการการพัฒนาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนการสอน” ณ โรงแรมนานาบุรี จังหวัดชุมพร โดยมี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เปิดเผยถึงการจัดโครงการดังกล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯมีความต้องการยกระดับพัฒนาความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่นจากการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้บริหารท้องถิ่นและผู้แทนชุมชน ” มหาวิทยาลัยฯลฯมีความต้องการให้หน่วยงานท้องถิ่นมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เพราะเป็นข้อมูลความเป็นจริงที่สามารถนำมาวิเคราะห์สำหรับการเปิดหลักสูตรระยะสั้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเมื่อได้ทราบข้อมูลจากผู้บริหารท้องถิ่นแล้วน่าจะสรุปได้ว่าการเปิดหลักสูตรระยะสั้นให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุมพรสามารถทำได้จริง เพราะมหาวิทยาลัยมีความพร้อมทุกศาสตร์ ในสาขาวิชาต่างไปๆ สามารถรองรับให้ความรู้ตามความต้องของนักศึกษาในท้องถิ่นและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยฯได้ให้โคว์ต้านักเรียนชั้นมัธยมปลายเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาโดยไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก ซึ่งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้คัดเลือกนักเรียนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์และความต้องการของชุมชน” อย่างไรก็ตาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “การให้โครว์ต้า นักเรียนในพื้นที่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตนเองเพราะเยาวชนกลุ่มดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ของท้องถิ่นว่าต้องการอะไร และมีแนวทางการพัฒนาอย่างไร”
การประชุมติดตามผลบริการวิชาการ โครงการเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน ดอนสัก เกาะพะลวย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น จัดประชุมผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก-เกาะพะลวย ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการได้รายงานข้อมูลความเคลื่อนไหวตลอดจนผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปี ที่พวกเราได้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจเพื่อทำให้พื้นที่ชุมชนดอนสัก-เกาะพะลวยสามารถเป็นพื้นที่ทางการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ ยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องในพื้นที่ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกให้เห็นถึงความสำคัญของการรู้จักใช้พื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยังยืน ทุกโครงการที่เกิดขึ้นเต็มไปด้วยความเหนื่อยยาก ปัญหาและอุปสรรคนานัปการ แต่ปลายทางของสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้นั้นคือความสุขที่พวกเราได้เห็นพี่น้องสามารถก้าวเดินได้อย่างมั่นคงบนพื้นฐานของความพอเพียง พวกเราทุกคนตั้งใจที่จะทำให้ SRU สามารถเดินหน้าเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างสุดกำลัง จากนี้เรายังต้องต่อยอดการเดินหน้าเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในทุกรูปแบบ ต่อให้เหนื่อยยากเพียงใด พวกเราทุกคนก็พร้อมที่จะทำ เพราะเป้าหมายของเรามีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ การทำแผ่นดินนี้ก่อเกิดพลังในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมการประชุมทำความร่วมมือบริการวิชาการ คณะนิติศาสตร์–สำนักงานยุติธรรมจังหวัด
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ยัน มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ยินดี ร่วมมือทุกโครงการที่ยุติธรรมจังหวัดขอความอนุเคราะห์ และให้เชื่อมั่นทุกศาสตร์ของมรส.อยู่ภายใต้ธงเดียวกัน ยึดความสามัคคีเป็นที่ตั้งและความยุติธรรมเป็นศูนย์กลาง …..เมื่อเวลา 13.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เข้าร่วมประชุมการทำความร่วมมือการบริการวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด โดยมี ผศ.นนทชัย โมรา คณบดีคณะนิติศาสตร์ คณะผู้บริหาร และคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะนิติศาสตร์ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุมอภิปรายในการดำเนินงานทำความร่วมมือดังกล่าว …..โดยผู้แทนสำนักงานยุติธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ว่า สำนกงานยุติธรรมเป็นผู้แทนของกระทรวงยุติธรรม ในการประสานนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติทั้งยังเป็นหน่วยสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานยุติธรรมทางเลือก (ยุติธรรมชุมชน และยุติธรรมเชิงสมานฉันท์) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย (กองทุนยุติธรรม) การช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา การจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย การรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ สนับสนุนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรมและของส่วนราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรม นอกจากนี้ยังดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐบาล กระทรวงยุติธรรม กรม จังหวัด ตามที่ได้รับมอบหมาย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานร่วมกันดังกล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้วมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และสำนักงานยุติธรรมจังหวัดได้ทำงานบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่นร่วมกันมาโดยตลอด เนื่องจากเมื่อมหาวิทยาลัยฯมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับยุติธรรมจังหวัดก็จะประสานและได้รับการสนับสนุนด้วยดีมาโดยตลอด ในขณะเดียวกันหากยุติธรรมจังหวัดมีงานอันใด…
มรส.ร่วมประชุมหารือเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2563 เวลา 09:30 น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยอาจารย์นาวิน วงศ์สมบุญ หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร นายเจตนัยธ์ เพชรศรี และว่าที่ร.ต.อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ได้รับมอบหมายเข้าร่วมประชุมกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อหารือแนวทางการดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมนุมอย่างยั่งยืน กิจกรรมจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวชุมนุมจังหวัด สุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลลูน 3 โรงเเรมบรรจงบุรี “SURATTHANI “ สุราษฎร์ธานีเมืองคนดีเที่ยวนี้ต้องไป ในการเพิ่มช่องทางการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ ให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบถึง แหล่งท่องเที่ยวเดิมที่ยังคงได้รับความนิยม และแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ เพื่อการประชาสัมพันธ์ศักยภาพท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวจากวิกฤตการเชื้อไวรัส COVID-19 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อสร้างรายได้เข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการฯร่วมงาน”ป่าของพ่อ” ร่วมปลูกป่า เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2563 เวลา 9.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมโครงการ “ป่าของพ่อ” ร่วมปลูกป่า เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็ดพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการเปิด กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯ มีนโยบายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้พระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยการให้นักศึกษาและบุคลากรร่วมกันปลูกต้นไม้โดยรอบภายในมหาวิทยาลัยเดือนละ 100 ต้น เป็นระยะเวลา 1 ปี รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,200 ต้น เพื่อถวายเป็นผืนป่าพระบารมีต่อไป ซึ่งมีคณะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ประชาชน และห้างเซ็นทรัล พลาซา สุราษฎร์ธานี ณ บริเวณสระว่ายน้ำกรดเกล้า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี