ปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้กู้เงินจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นในโครงการมิยาซาว่า เพื่อมากระตุ้น เศรษฐกิจของประเทศ โดยให้รับบัณฑิตที่จบการศึกษา มาทำงานเพื่อสร้างงานสร้างรายได้และแก้ปัญหาบัณฑิตว่างงาน รู้จักกันในชื่อ “บัณฑิตมิยาซาว่า” หมายถึง บัณฑิตที่ทำงานในโครงการมิยาซาว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะทำงานเกี่ยวกับการสนับสนุนภารกิจขององค์กรต่าง ๆ ตามความจำเป็น

ในส่วนของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น ณ อาคารหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ โดยการกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ ผศ.เนาวรินทร์ ชนะทัพ และมี คณะทำงานของศูนย์ศึกษาฯ โดยมี อาจารย์นิกร บุญญานุกูล เป็นประธาน และมีบุคลากรการประจำศูนย์ จำนวน 5 คน (จากการรับสมัคร บัณฑิตมิยาซาว่า) มีภารกิจในการอบรมและบริการวิชการในการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น และการอบรมวิทยากรกระบวนการ ให้แก่นักศึกษาของสถาบันตามนโยบายของคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดย มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ จำนวน 18 เดือน เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ รองอธิการบดีฝ่ายวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ ผศ.เนาวรินทร์ ชนะทัพ ได้จัดตั้ง “สำนักชุมชนสัมพันธ์เพื่อดำเนินการ” ภารกิจดังกล่าวต่อ โดยมี อาจารย์สุมาลี จิระจรัส เป็นผู้อำนวยการสำนักชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งมีภารกิจ ดังนี้

  • โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
  • โครงการกองทุนหมู่บ้าน
  • โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)
  • โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น
  • บูรณาการงานสำนักชุมชนสัมพันธ์กับงานศิลปวัฒนธรรม


ปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เปลี่ยนชื่อสำนักชุมชนสัมพันธ์ เป็น “กองกิจการพิเศษ” เพื่อให้มีภารกิจครอบ คลุมมากขึ้น โดยขึ้นกับสำนักงานอธิการบดี ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มี ผศ.ราตรี นันทสุคนธ์ เป็นผู้อำนวยการกอง ซึ่งภารกิจของกองกิจการพิเศษ มีดังนี้

  • โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
  • โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)
  • โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น
  • โครงการสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมของชุมชน

หลังจากนั้นมหาวิทยาลัยฯ ได้เปลี่ยนแปลงผู้บริหารตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ เนื่องจาก ผศ.เนาวรินทร์ ชนะทัพ ลาออก เพราะมีปัญหาด้านสุขภาพ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้ง อาจารย์อร่ามรัศมิ์ ด้วงชนะ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษและมี ผศ.อภิชาติ พัฒน วิริยะพิศาล เป็นผู้อำนวยการกองกิจการพิเศษ กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการบริหารมหาวิทยาลัยฯ อีกครั้ง โดยให้ ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด มาดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ และแต่งตั้ง อาจารย์สาคร รักบำรุง มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการกองกิจการพิเศษ จนถึง ปี พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนผู้อำนวยการกองกิจการพิเศษ เป็น อาจารย์สมชาย สหนิบุตร

เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554 อธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ได้มีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อ กองกิจการพิเศษ เป็น กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับ พันธกิจของมหาวิทยาลัย อยู่ภายใต้การบริหารงานของรองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการ ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด และมีอาจารย์สมชาย สหนิบุตร เป็นผู้อำนวยการ กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจ ที่สำคัญ ดังนี้

  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ
  • พัฒนางานบริการวิชาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
  • ส่งเสริมเผยแพร่ผลงานวิชาการและนวัตกรรมทั้งในระดับบุคคลและองค์กรในท้องถิ่น
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่นให้สามารถเรียนรู้และพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
  • สนองงานโครงการตามแนวพระราชดำริเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ที่ตั้งสำนักงาน กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ปี พ.ศ. 2653 รักษาราชการแทนอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม ได้มีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เป็น โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของรองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด และแต่งตั้ง นายอรุณ หนูขาว มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจ ที่สำคัญ ดังนี้

ที่ตั้งสำนักงาน โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ : 0 7791 3324 โทรสาร : 0 7791 3309