มรส.ร่วมการประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย: ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ครั้งที่9

…..วันนี้เวลา 10:00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ร่วมกับทีมงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทีมงานคณะครุศาสตร์ ได้เข้าร่วมรับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานเปิดงานประชุมและนิทรรศการทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ครั้งที่ 9/2560 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาเขตสระบุรี …..โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำโครงการการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่บ้านน้ำราด อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี มาจัดแสดง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพื่อขยายพันธ์ุกล้วยไม้ประจำถิ่น การศึกษาเกี่ยวกับต้นหยาดน้ำค้าง การศึกษาสารสะกัดจากผักตบชวาเพื่อกำจัดลูกน้ำ รวมทั้งการศึกษาชาติพันธุ์ของชาวไทยทรงดำอีกด้วย ทั้งนี้ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านธีระ อนันตเสรีวิทยา ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมชมนิทรรศการของมหาวิทยาลัยด้วย …..ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับประเด็นการศึกษาในปีถัดไปว่า น่าจะมีการศึกษา “มะพร้าว” อย่างจริงจังแบบรอบด้าน โดยใช้ศาสตร์ต่างๆเข้าไปบูรณาการศึกษา ทั้งนี้เพราะมะพร้าวเป็นพืชสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวสุราษฎร์ธานีมาอย่างยาวนาน โดยประเด็นนี้ฝ่ายบริการวิชาการฯจะได้นำกลับไปหารือเพื่อหาแนวทางในการศึกษาต่อไป …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินโครงการสนองงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วยความมุ่งมั่น และนับเป็นเกียรติยศอันสูงสุดที่ได้ทำงานสนองงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พวกเราจะทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ โดยมีเป้าหมายคือ สนองงานพระองค์ท่านในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน/ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บริการวิชาการฯ มรส. รือเกี่ยวกับหลักสูตรและกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถาบันการศึกษา

…..ฝ่ายบริการวิชาการฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ได้หารือร่วมกับ ผศ.พรวิไล อุ้ยดำรงธรรม ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภายใน และอาจารย์ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์ ผู้แทนจากคณะนิติศาสตร์ เพื่อหารือเกี่ยวกับหลักสูตรและกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถาบันการศึกษา …..การหารือได้ข้อสรุปว่า ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์  ผศ.พรวิไล อุ้ยดำรงธรรมและอาจารย์ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์ จะเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการในการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถาบันการศึกษา ในวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2560 ณ ห้องแกรนด์บอลลูม โรงแรมริชมอนด์ กรุงเทพมหานคร โดยได้เตรียมประเด็นเกี่ยวกับหลักสูตรและกิจกรรมไว้ 3 ส่วนคือ กิจกรรมในรายวิชากลุ่มวิชาพื้นฐาน การอบรมให้ความรู้กับอาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย กิจกรรม anti corruption : Young Turks และจะนำเสนอในที่ประชุมดังกล่าว …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆอย่างหลากหลายกิจกรรม เราพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคมให้เป็นสังคมที่น่าอยู่และมีความสุขในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ เร่งติดตามเชิญแกนนำชุมชนร่วมหารือสร้างแบรนด์ มติชัดเจน “ขุนเล”มาแรงเป็นเอกลักษณ์ไร้คู่แข่ง

ด้าน UBI ร่วมแจมสร้างแบรนด์หนุนงบฯ หวังเปิดช่องทางการตลาดชุมชนขุนทะเลโตขึ้นอยู่ได้ด้วยตนเอง ส่วนสายแข็งด้านธุรกิจค้าปลีกกำหนดจัดอบรมระบบ Online – Offline ดีเดย์ 14 ก.พ.61 …..เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดประชุมหารือแกนนำชุมชนตำบลขุนทะเล ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อติดตามการดำเนินงานในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 เนื่องจากมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 ให้แกนนำหมู่บ้านและคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ในชุมชนท้องถิ่นและเสริมสร้างช่องทางการตลาดโดยการอบรมตลาด Online และ Offline พร้อมทั้งเสนอชื่อผู้เข้าอบรมจัดทำเว็บไซต์หมู่บ้านละ 2 คน …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการฝ่ายบริการวิชาการ ประธานที่ประชุมได้เผยว่า อยากให้แกนนำชุมชนและมหาวิทยาลัยร่วมกันระดมความคิดในการสร้างแบรนด์และโลโก้ พร้อมทั้งช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยให้พิจารณาของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการแปรรูปผลิตผลที่ในชุมชน ซึ่งผู้ช่วยอธิการบดีฯให้ข้อคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า การจัดทำแบนด์หรือโลโก้จะต้องสื่อถึงบริบทของชุมชนท้องถิ่นให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคจดจำได้ง่าย อีกทั้งผลิตผลที่ต้องการแปรรูปต้องมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของตลาดหรือไม่ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะดำเนินการช่วยเหลือในเรื่องของการแปรรูปการให้ความรู้อบรมเชิงปฏิบัติการเพราะมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว ในส่วนของการทำบรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาดก็เช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือในการคิดค้นออกแบบเทคนิควิธีการทำอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน นอกจากนี้ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจหรือ UBI ผู้มีหน้าที่ดำเนินการในการสร้างแบรนด์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความต้องการของชุมชน…

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการระดมตัวแทนหน่วยงานเร่งหารือมาตรการแก้ปัญหาขยะ

พร้อมเสนอทางออกให้มหาวิทยาลัย ชี้ชัด 4 หน่วยงานต้องร่วมด้วยช่วยแก้ วางแผนปรับจุดทิ้งเพิ่มชุดถังฯ หนุนแคมเปญรณรงค์สร้างจิตสำนึกนศ. ทิ้งให้ตรงถังแยกให้ตรงประเภท หวังเป็นโมเดลต่อยอดให้กับชุมชนอื่นๆ …..เมื่อเวลา 14.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมหารือเรื่องการบริหารจัดการขยะเพื่อต่อยอดสู่พื้นที่ชุมชนขุนทะเล ณ ห้องประชุมวิภาวดี ชั้น 2 อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ทั้งนี้ได้มีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองพัฒนานักศึกษา กองอาคารสถานที่ฯ ฝ่ายสื่อสารองค์กร และตัวแทนจากตำบลขุนทะเลเข้าร่วมประชุมและระดมความคิดเห็น …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ประธานที่ประชุมได้เผยว่า จากกรณีปัญหาการบริหารจัดการขยะที่ยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนนั้น ได้ทราบในเบื้องต้นจากประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เบื้องต้นมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับชาวบ้านในการแก้ไขในระยะแรกแล้ว …..ผศ.พจนีย์ สุวัฒนานุกร รองผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ ได้ชี้แจงว่า มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดตั้งถังขยะแบบแยกประเภทของขยะไว้ในแต่ละจุดคือ ถังขยะแห้ง หรือขยะที่นำมารีไซเคิลได้ เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก เป็นต้น ถังขยะเปียก คือ ขยะที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ใบไม้…

มรส.ร่วมการเตรียมการประชุมร่วมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้11จังหวัด

…..วันนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปประชุมการ  เตรียมการประชุมร่วมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ 11 จังหวัด ร่วมกับผู้แทนจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดยท่านรองฯประเวศ ไทยประยูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..โครงการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่เสนอกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้คือ โครงการ GOLDEN HUB ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมี 3 ยุทธศาสตร์เป็นตัวคุมคือ การศึกษาและพัฒนาลุ่มน้ำตาปี การศึกษาและพัฒนาพื้นที่สองฝั่งทะเล และการศึกษาและพัฒนาประตูสู่ภาคใต้ ซึ่งจะมีคณะกรรมการพิจารณาข้อมูลจากทั้ง 11 จังหวัด เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร …..จากนั้นในช่วงบ่ายดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีและ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อร่วมหารือกับทีมงานศูนย์บริการวิชาการ นำโดย รศ.ดร.มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เกี่ยวกับประเด็นโครงการจัดตั้งสำนักบริการวิชาการฯ แนวทางในการบริการวิชาการเพื่อสังคม และนัดหมายการประชุมเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำซึ่งจะจัดขึ้นที่…

งานบริการวิชาการฯจัดประชุมเตรียมความพร้อมตัวแทนคณะผู้สนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ. มรส.)

ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย อยากให้ผลการดำเนินงานออกมาดีที่สุดเพราะเป็นการสนองงานพระองค์ท่าน ด้านหัวหน้างานบริการฯ ห่วง เรื่องการจัดเตรียมอุปกรณ์ เน้นย้ำให้ตรวจสอบอย่าให้เกิดอุปสรรคกับวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ …..เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมการร่วมจัดนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ณ ห้องการเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดนิทรรศการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เผยว่า เนื่องจากเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ได้เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 2 /2560 และการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ครั้งที่ 2/2560 ณ ห้องประชุมศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงานเตรียมการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี…

งานบริการวิชาการฯ ร่วมงานประชุมวิชาการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะคนของพระราชา ร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และนำไปสู่การบูรณาการกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการแก่สังคม …..เมื่อเวลา 09.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 2 /2560 และการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ครั้งที่ 2/2560 ณ ห้องประชุมศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงานเตรียมการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี ในระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2560 …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เผยว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะหน่วยงานร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินโครงการตามแผนแม่บท จำนวน 18 โครงการ ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ แปลงที่…

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง – Kra Buri, Ranongพื้นที่ 783.00 km2 คำขวัญ คอคอดกระ เสด็จพระแข่งเรือ มากเหลือต้นจาก ของฝากซาลาเปา   เทศบาลตําบลจ.ป.ร.   องค์การบริหารส่วนตำบลบางใหญ่   เทศบาลตําบลน้ำจืด   องค์การบริหารส่วนตำบลปากจั่น   องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจืด   องค์การบริหารส่วนตำบลมะมุ   องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจืดน้อย   องค์การบริหารส่วนตำบลลำเลียง

งานบริการวิชาการฯเร่งหารือ งัดแผนการดำเนินงานแปรรูปผลิตผลชุมชน ผนึกกำลังสายแข็งแห่งการจัดการและวิทยาศาสตร์ฯ เห็นพ้องชู Brand เดียวแต่หลากผลิตภัณฑ์

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ สตาร์ทเครื่องแรง อยากทำให้สำเร็จและเร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการชุมชนท้องถิ่น ด้านศูนย์ UBI ใจป้ำอัดงบสนับสนุนโครงการฯ หวังยกระดับคุณภาพชีวิตชาวขุนทะเล ให้สมกับเป็นพื้นที่มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมหารือร่วมกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิทยาการจัดการ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ณ สำนักงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ทั้งนี้เพื่อการดำเนินการกำหนดแผนงานการช่วยเหลือและให้ความรู้พร้อมทั้งการจัดฝึกอบรมเบื้องต้นในการแปรรูปผลิตผล การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และเทคนิควิธีการใช้ช่องทางตลาด Online เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นของฝากของชำร่วย …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงแผนการดำเนินการว่า “งานบริการวิชาการท้องถิ่นได้ขอความอนุเคราะห์และจัดประชุมหารือร่วมกับอาจารย์เตชะธรรม สังข์คร อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก และ ผศ.นินธนา เอี่ยมสะอาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจ เอกการจัดการทั่วไป และคุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการสำนักงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI พร้อมทั้ง ดร.อุราภรณ์ เรืองวัชรินทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นอกจากนี้ ยังมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ อาจารย์ณัฐพล…

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มรส. ร่วมหารือเลขานุการสภาเด็กฯ และเลขานุการชมรมสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นพ้องกัน ร่วมสร้างสรรค์สังคมในทุกมิต

สภาเด็กและเยาวชนสุดปลื้ม มรส.ให้ความสำคัญ ยันร่วมด้วยช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง ด้านชมรมสตรี เสนอขอให้มหาวิทยาลัยฯเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายเพื่อช่วยเหลือสตรี เด็กและเยาวชน …..เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ร่วมประชุมหารือกับตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยตัวแทนจากชมรมสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี และคณะ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยการประชุมดังกล่าวได้พูดคุยในประเด็นของการให้ความช่วยเหลือ และสร้างเครือข่ายความมือในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมให้กับ กลุ่มสตรี เด็ก และเยาวชน เพื่อยกระดับชีวิต และการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม พร้อมทั้ง การหาแนวทางการประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงาน นอกจากนี้ได้พิจารณาเรื่องการหาแนวทางการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..​โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี มีเจตนารมณ์ที่จะช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น หรือแม้แต่หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ถ้ามีความต้องการอยากให้มหาวิทยาลัยฯเข้าไปดำเนินการ สนับสนุนหรือส่งเสริมในด้านใดขอให้เข้ามาพูดคุยและร่วมกันหารือในลักษณะนี้ เนื่องจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ว่าที่อธิการบดี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และมีปณิธานอันแน่วแน่ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี คือมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน และเป็นมหาวิทยาลัยของประชาชนทุกคน …..​ซึ่งประเด็นที่จะร่วมพูดคุยในวันนี้ คือ…

End of content

End of content