งานบริการวิชาการฯร่วมเสวนาสุขภาวะชาวสวนยาง ถกปัญหาราคาตก–กระทบการศึกษา พร้อมหาแนวทางยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เผย มรส.ไม่นิ่งดูดาย เร่งหารือนำองค์ความรู้สู้ปัญหาราคายางตกต่ำ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตทุกมิติ หวังเปลี่ยนทิศแก้วิกฤตให้ชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 09.00 น. (20 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เดินทางไปร่วมการเสวนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะชาวสวนยาง ณ ห้องประชุม 5 อาคารอิมแพค ฟอรั่มเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งการเสวนาได้มีนักวิชาการ กลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมแสดงความคิดแนวทางการแก้ปัญหาและประเด็นที่ส่งผลกระทบของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วม …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวถึงข้อสรุปในการเสวนาว่า “จากที่ได้ร่วมพูดคุยกับนักวิชาการและหน่วยงานหลายฝ่าย ซึ่งได้เสนอแนวทางที่สถาบันการศึกษาควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังเผชิญวิกฤตการณ์ราคายางพาราตกต่ำ ทั้งการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการไม่สามารถเรียนต่อได้ของนักศึกษาผู้ได้รับผลกระทบ การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวสวนยาง รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อหาแนวทางการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาวะให้กับชาวชุมชนท้องถิ่น ตามหลักคิดในการสร้างสังคมสุขภาวะต่อไป” …..ในส่วนของแนวทางการแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของชุมชนท้องถิ่น ดร.สมปราชญ์ ได้ให้ความเห็นว่า “งานบริการวิชาการฯ จะประสานและร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย เพื่อสำรวจว่ามีนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีตามระดับของความเดือดร้อนและหากมีกรณีใดที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งจะต้องเสนอผู้บริการให้รับทราบทันที …..ส่วนในเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวสวนยาง “จากที่เคยได้ร่วมพูดคุยกับชาวชุมชนท้องถิ่นที่ประกอบอาชีพดังกล่าว พบว่ายังประสบปัญหากับโรคระบาดที่เกิดขึ้นกับต้นยางพารา เช่น โรคราแป้ง โรคใบร่วง เป็นต้น…

งานบริการวิชาการฯ เร่งติดตาม การแปรรูปผลผลิตชุมชนขุนทะเล ผช.ฝ่ายบริการฯนำทีมรุดเยี่ยม ร่วมหารือแกนนำหมู่ 1 หวังนำร่องขนมไทยอบกรอบ

ด้าน UBI เล็งช่องทางการตลาดถั่วตัด ไปไกลทั่วประเทศ เห็นพ้องเน้นธัญพืชเป็นส่วนประกอบเพื่อรูปแบบที่แตกต่าง ด้านแกนนำหมู่บ้าน ฮึด! กำหนดวันร่วมเรียนรู้การแปรรูปกับ FOOD SCI …..เมื่อเวลา 13.00 น. (19 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยตัวแทนศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI และ อาจารย์ตัวแทนจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล เพื่อติดตาม และขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตผลชุมชน ซึ่งเนื่องมาจากผลการประชุมหารือตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดทำแผนการดำเนินงานการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ของชุมชนขุนทะเล พร้อมทั้ง ยกระดับชีวิตเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต โดยการประสานกับเครือข่ายหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์คอมพิวเตอร์ และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI เพื่อพัฒนาช่องทางการตลาด และได้ประชุมติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์  วุฒิจันทร์  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวว่า จากมติที่ประชุมหารือในวันที่ 20 พฤศจิกายน…

งานบริการวิชาการฯ เร่งเครื่อง ปีงบ’61 จัดประชุมอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ทบทวนแผนแม่บท ระยะ 5 ปีที่หก

 มรส. ระดมความคิดอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จุดประเด็นมุ่งเป้าการบูรณาการศาสตร์เข้าด้วยกัน มติที่ประชุมเห็นพ้อง ชูโรง “มะพร้าว” สุดเจ๋ง ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกกระบวนการ …..เมื่อเวลา 14.00 น.(13 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้จัดประชุมอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯเป็นประธานในที่ประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้สรุปผลการเข้าร่วมจัดนิทรรศการฯ ทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ประจำปี พ.ศ. 2560 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2560 นั้น …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เผยว่า ได้ร่วมพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัด โดยได้รับการชื่นชมในการดำเนินงานดังกล่าวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ผู้ช่วยอธิการบดีขอชื่นชมในความตั้งใจของทีมงานทุกท่าน ถึงแม้ว่าจะเกิดอุปสรรคและปัญหาบ้างแต่คณะทำงานนำโดยหัวหน้างานบริการวิชาการฯก็สามารถฟันฝ่าและแก้ปัญหาไปได้อย่างราบรื่น …..ด้านนายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้กล่าวถึงบรรยากาศในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวว่า มีหน่วยงานสนองงานฯได้นำผลิตผลในท้องถิ่นมาจัดแสดงมากมาย…

งานบริการวิชาการฯ สตาร์ทเครื่อง ปีงบ 61 จัดประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม สรุปผลและทบทวนการเบิก–จ่ายรายไตรมาส

หัวหน้างานบริการวิชาการฯ เผย แผนการดำเนินงานและการเบิก – จ่าย ต้องตรงตามไตรมาส ลดปัญหาการคืนงบ พร้อมหนุนโครงการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว 65 แหล่ง ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการขยะในมหาวิทยาลัย เมื่อเวลา 10.00 น. (13 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องการเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมี นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นเป็นประธานในที่ประชุม หัวหน้างานบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า เป็นครั้งแรกในการจัดประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการหลังจากที่ได้เดินทางไปจัดนิทรรศการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ จังหวัดสระบุรี ภายใต้ชื่อ “ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น”เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2560 นั้น งานบริการวิชาการฯได้รับข้อเสนอแนะจากสำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯในประเด็นของการนำ พันธุ์ พืชสมุนไพร ผลไม้ มาบูรณาการศาสตร์เข้าด้วยกัน เพราะจากการที่ได้รับทราบผลการดำเนินงานจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการบูรณาการจากผลไม้ในท้องถิ่น คือ…

มรส.รายงานและนำเสนอข้อมูลการการประเมินผลโครงการ ITA ระนอง

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯได้เดินทางมายัง จ.ระนอง เพื่อรายงานและนำเสนอข้อมูลการการประเมินผลคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.ระนอง งวดที่ 3 ให้กับคณะกรรมการกำกับการจ้างเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จ.นะนอง ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดระนอง ข้อมูลดังกล่าว ประกอบด้วยข้อมูลหลายหน่วยงานจำนวน 31 หน่วยงาน 155 เล่ม ข้อมูลภาพรวมของ จ.ระนองจำนวน 20 เล่ม ท่านคณะกรรมการชื่นชมในเนื้อหาและกระบวนการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และเชื่อมั่นในการดำเนินงานของพวกเรา วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีพยายามเดินหน้าเพื่อเชื่อมโยงทุกสรรพกำลังของมหาวิทยาลัยในการสร้างแนวทางและโอกาสที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตร่วมกับพี่น้องในท้องถิ่น อย่างเต็มกำลัง ดังวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง###มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯร่วมกับชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มรส. ผนึกกำลังจิตอาสาลงพื้นที่ รร.หวังพัฒนายกระดับสื่อการเรียนให้ชุมชนท้องถิ่น

ผช.อธิการบดีฯ เผย นำนศ.จิตอาสาลงตรวจสอบพื้นที่โรงเรียน หวังยกระดับสื่อการเรียนการสอนในเฟสที่ 2 ด้านผอ.ขอบคุณมรส. สมเป็นมหาวิทยาลัยฯของชุมชนท้องถิ่นโดยแท้จริง …..เมื่อเวลา 15.30 น. (9 ธันวาคม 2560) ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่โรงเรียนบ้านพัฒนา ในอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งบริเวณพื้นที่โรงเรียนดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในเฟสที่ 2 …..สืบเนื่องจากการดำเนินงานในเฟสแรกโดยนักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้ดำเนินการเข้าไปพัฒนาฟื้นฟูสื่อการเรียนการสอน BBLซึ่งเป็นสื่อการเรียนแบบประยุกต์เพื่อให้เข้ากับโรงเรียนหรือความต้องการของโรงเรียน เช่น สนามเด็กเล่นBBL หรือ ลานกิจกรรม BBL ที่จัดสร้างให้กับนักเรียนระดับประถมฯและระดับมัธยมในเดือนตุลาคมเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย ดังนั้นงานบริการวิชาการฯและนักศึกษากลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุขจึงมีแผนดำเนินการพัฒนาในเฟสที่สองต่อไป …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ได้เผยว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และนักศึกษาชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุขเล็งเห็นความสำคัญและมีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการดำเนินการดังกล่าว โดยให้แนวคิดว่าชุมชนต้องได้ประโยชน์ ชุมชนต้องพัฒนา และต้องไม่หวังผลอันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง แผนการดำเนินงานต้องเป็นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริงซึ่งปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรมในเฟสแรก และในวันนี้จึงนำนักศึกษากลุ่มดังกล่าวลงพื้นที่ในโรงเรียนบ้านพัฒนาอีกครั้งเพื่อพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ …..ด้านนางสาวพิมศรัญย์ นาคพังกาญจน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพัฒนา ได้กล่าวว่าในนามของโรงเรียนบ้านพัฒนาขอขอบพระคุณเป็นอย่างมากที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ดำเนินการพัฒนาและยกระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการดำเนินงานในเดือนตุลาคมทางโรงเรียนได้รับผลการตอบรับจากผู้ปกครองและนักเรียนในการสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนแบบBBLซึ่งมีผลตอบรับที่น่าชื่นชมและผลการดำเนินการดังกล่าวทำให้นักเรียนที่เรียนรู้กับสื่อการสอนBBL มีผลสัมฤทธิ์ในระดับดีมาก สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณนักศึกษาจิตอาสาจากชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี…

งานบริการวิชาการฯ ร่วมงานวันต่อต้านคอรัปชั่นสากล ภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance” คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต

ผู้ช่วยอธิการบดีฯหวังราชภัฏสุราษฎร์ฯ เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนและประกาศเจตนารมย์อย่างชัดเจน ที่ไม่ทนต่อการทุจริตในองค์กร …..เมื่อเวลา 09.30 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้เข้าร่วมงานวันต่อต้านคอรัปชั่นสากล ภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance” คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าว …..ทั้งนี้การจัดงานวันต่อต้านคอรัปชั่นสากล มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้สังคมและทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงผลเสียร้ายแรงที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชัน และร่วมแสดงพลังต่อต้านการทุจริตเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต …..ด้าน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ให้ความเห็นว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประกาศเจตนารมย์อย่างชัดเจนในการสนับสนุนแนวคิด“Zero Tolerance” คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต และปวารณาตนเสมอว่า เป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินให้มีพลัง ดังนั้น การเข้าร่วมงานดังกล่าวในครั้งนี้ จึงเป็นการประกาศให้ทุกองคาพยพได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นอีกหนึ่งพลังในการต่อต้านทุจริตในองค์กรและสร้างวัฒนธรรมสุจริตให้เกิดขึ้นกับองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม …..ซึ่งการจัดงานดังกล่าวได้มีหน่วยงานหลายภาคส่วนเข้าร่วมรับฟังการบรรยายและได้เสนอแนวคิดในการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต” โดยผลสรุปของการบรรยายนได้เน้นย้ำว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องลุกขึ้นมาทำหน้าที่ และปกป้องสิทธิของตนเองและประเทศชาติ โดยไม่ทนต่อการทุจริต และมีจิตสำนึกที่ถูกต้อง ยึดมั่นคุณธรรม จริยธรรม และความพอเพียง พร้อมทำหน้าที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุจริต เพื่อให้ประเทศไทยโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯร่วมหารือคณะพยาบาลฯพร้อมผู้นำชุมชนขุนทะเล ผุดโครงการ รร.ผู้สุงอายุในชุมชน แบบเชิงรุก!

ด้านผช.คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มั่นใจโมเดลเชิงรุก ลงพื้นที่ร่วมกับชุมชนนำองค์ความรู้ หวังยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนขุนทะเล และเป็นแนวปฏิบัติที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นในอนาคต …..เมื่อเวลา 13.30 น. (7 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมเพื่อหารือเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยอาจารย์วรรณา กุมารจันทร์ ผู้ช่วยคณบดีศูนย์สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และอาจารย์วีณา ลิ้มสกุล รองคณบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีผู้นำหมู่บ้านหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 10 เข้าร่วมประชุมในเรื่องดังกล่าวด้วย …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า เนื่องจากได้มีโอกาสหารือกับคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เรื่องหลักสูตรโรงเรียนผู้อายุ ซึ่งก่อนหน้านั้นคณะพยาบาลฯได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้วแต่เป็นโครงการที่ให้ผู้สูงอายุในท้องถิ่นเข้ามาสมัครเรียนกับคณะด้วยตนเอง แต่โครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้มหาวิทยาลัยฯ โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและคณะพยาบาลฯ จะดำเนินการในรูปแบบเชิงรุก คือการลงพื้นที่ชุมชนนำองค์ความรู้ไปอบรมและจัดการเรียนการสอนให้กับประชาชนในหมู่บ้าน คือหมู่ที่ 7 และหมู่ที่10 เพราะได้วิเคราะห์จำนวนผู้สูงในชุมชนแล้วมีจำนวนค่อนข้างมาก ซึ่งกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวไม่สามารถเดินทางเข้ามารับบริการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนกับมหาวิทยาลัยได้ทั้งหมด ด้วยเหตุผล เช่น ปัญหาการเดินทาง, ปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ดังนั้น งานบริการวิชาการฯจึงขอความร่วมมือกับบุคลากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพผู้สูงอายุจากคณะพยาบาลศาสตร์…

งานบริการวิชาการฯร่วมระดมความคิดเร่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ บูรณาการงานวิจัย ศิลปวัฒนธรรม งานบริการวิชาการฯ

ผอ.สำนักศิลปะฯ เผย 3 หน่วยงานต้องเกี่ยวก้อยให้ไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยเพื่อใช้ในชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน ผอ.สถาบันวิจัยฯ เชื่อมั่นแผนการดำเนินงานวิจัยบูรณาการฯไปได้สวย เพราะร่วมกันผนึกกำลัง …..ผอ.สำนักศิลปะฯ เผย 3 หน่วยงานต้องเกี่ยวก้อยให้ไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยเพื่อใช้ในชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน ผอ.สถาบันวิจัยฯ เชื่อมั่นแผนการดำเนินงานวิจัยบูรณาการฯไปได้สวย เพราะร่วมกันผนึกกำลัง …..เมื่อเวลา 11.00 น. (4 ธันวาคม 2560) ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี โดยมี ผศ.อภิชาติ พัฒนวิริยะพิศาล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และ อาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมคณะ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ …..โดยผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวถึงผลการประชุมในโครงการ RETREAT สู่การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ที่จัดขึ้น ณ โรงแรมโวค รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.กระบี่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทราบสภาพปัญหา…

ผช. อธิการดีฝ่ายบริการวิชาการฯแทคทีมสนง. ป้องกันภัยสุราษฎร์ธานีฯร่วมด้วยตร. ขุนทะเลbreak! สถิติพื้นที่เสี่ยงภัยอุบัติเหตุด้วยจำกัดความเร็วเท้าผีมือลั่น!!!

…..เผยมติที่ประชุมทุกจังหวัดคัดเลือกเส้นทางเพื่อจัดเซฟตี้โซน สฎ. เล็งถนนแยกเซาท์เทอร์น-แยกบางใหญ่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย(nack) …. ดร. สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการได้ร่วมประชุมหารือร่วมกับสำนักงานป้องกันภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีและตำรวจภูธรขุนทะเลพร้อมด้วยแขวงการทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้แทนจากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ภาคประชาชน และผู้ประกอบการรถขนส่งมวลชนฯ เกี่ยวกับแนวทางในการจำกัดความเร็วในพื้นที่ชุมชนขุนทะเลของรถบรรทุก และยานพาหนะทั่วไป ณ ห้องผดุงชาติ อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..โดยดร. สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เผยว่า “เนื่องจากสถิติอุบัติเหตุของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปริมาณสูงและยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กรมขนส่งทางบกได้ตั้งไว้ รัฐบาลจึงมีมติให้ทุกจังหวัดคัดเลือกเส้นทางเพื่อจัดเซฟตี้โซน โดยมอบให้สำนักงานป้องกันภัยจังหวัดเป็นเจ้าเรื่อง และจากการพูดคุยได้ข้อสรุปว่าถนนแยกเซาท์เทอร์น-แยกบางใหญ่ เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยทางท้องถนนโดยมีสถิติอุบัติเหตุในปริมาณสูง ซึ่งมีสาเหตุสำคัญคือการไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรโดยเฉพาะเรื่องการจำกัดความเร็วในพื้นที่ชุมชน” …..ที่ประชุมจึงมีมติให้ดำเนินการเรื่องการตรวจจับความเร็วอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2560 ถึง 15 มกราคม 2561 สำนักงานขนส่งจะร่วมกับตำรวจภูธรขุนทะเลจะทำการตรวจจับความเร็วตามกฎหมาย โดยจะเป็นการตรวจจับเพื่อตักเตือนก่อนในเบื้องต้น หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการตรวจจับอย่างจริงจังต่อไป …..ผู้ช่วยได้กล่าวทิ้งท้ายของการสัมภาษณ์ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน และโดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยด้วยแล้ว มหาวิทยาลัยมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะใช้ทุกสรรพกำลังในการทำให้สังคมนี้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอย่างที่สุด เราพร้อมที่จะร่วมมือกับพี่น้องในทุกเรื่องในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content