งานบริการวิชาการฯจับมือสถาบันวิจัยฯ – สำนักศิลปะฯร่วมจัดโครงการจัดการความรู้ หวังบูรณาการตามพันธกิจมรส.

…..​ผช.เผยอยากขับเคลื่อนองคาพยพในทิศทางเดียวกัน ตั้งเป้าผลของโครงการต้องเกิดการพัฒนากระบวนการบูรณาการตามพันธกิจ เพื่อเป็นต้นแบบและแนวปฏิบัติที่ดีให้กับหน่วยงานอื่น​…..​เมื่อเวลา 13.00 น. (4 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ดำเนินการจัดโครงการจัดการความรู้ เรื่อง การบูรณาการงานวิจัย งานบริการวิชาการและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ณ ห้องประชุมพุทธทาส ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีรศ.ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดีเป็นประธานในการเปิดโครงการ ทั้งนี้ ได้มีผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมโครงการและรับฟังการบรรยายในหัวข้อมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดินโดย ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ที่ปรึกษาอธิการบดี และ ดร.วัฒนา รัตนพรหม วิทยากร ผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านแนวทางการจัดการความรู้…..​รศ.ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี ได้ให้ความเห็นว่า ปัญหาสำคัญที่มหาวิทยาลัยเผชิญอยู่ในขณะนี้คือสภาวะที่หน่วยงานในมหาวิทยาลัยแยกส่วนการทำงานตามพันธกิจของตนโดยไม่ได้คำนึงถึงเป้าหมายและทิศทางหรือกระบวนการที่ร่วมกันผสมผสานเป็นองค์รวมจึงเกิดความซับซ้อนซึ่งไม่ได้ตอบโจทย์พันธกิจของมหาวิทยาลัยโดยตรง ดังนั้น โครงการฯในวันนี้จึงเป็นเครื่องมือและแนวทางอย่างหนึ่งในการบูรณาการหลอมรวมกันให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อเป็นกลไก ชับเคลื่อนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามยุทธศาสตร์ชาติ…..​ด้าน ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการว่า “โครงการจัดการความรู้ เรื่อง การบูรณาการงานวิจัย งานบริการวิชาการและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จัดทำขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบูรณาการงานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เนื่องมาจากกระบวนการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในปัจจุบันนี้เกิดความซับซ้อนและไม่ได้เชื่อมโยงต่อกัน ทำให้เกิดผลการดำเนินงานที่ไม่ครอบคลุมกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ดังนั้นงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จึงร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพร้อมด้วยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมดำเนินการจัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อค้นหาแนวทางและวิธีการในการบูรณาการงานวิจัย…

งานบริการวิชาการฯจัดประชุมชี้แจงโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปี 2561

ผช.ฝ่ายบริการวิชาการชี้แจง เป็นโครงการที่รัฐบาลต้องการให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ และเป็นนโยบายระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของโรงเรียนในท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง …..เมื่อ‪เวลา 09.00 น.‬ (4 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นดำเนินการจัดประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปี 2561 ณ ห้องการเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น …..ทั้งนี้ได้มีคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆที่ดำเนินโครงการฯ เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ชี้แจงถึงความเป็นมาของโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงว่า สืบเนื่องจากนโยบายรัฐบาลในปัจจุบัน ได้มุ่งทิศทางในการพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน โดยเฉพาะนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งเน้นความสำคัญของการส่งเสริมบทบาทให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ทั่วประเทศทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานศึกษาในท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เป็นเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน ที่ได้ดำเนินการโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องโดยมีโครงการที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของจำนวนโครงการที่มหาวิทยาลัยในภาคใต้ตอนบนเสนอไปยังสกอ. การประชุมในวันนี้จึงอยากให้ที่ประชุมร่วมพิจารณารายละเอียดต่างๆที่ระบุไว้ในโครงการ โดยให้ฝ่ายเลขาชี้แจงประเด็นที่ สกอ.ให้ปรับปรุงแก้ไขและให้ผู้รับผิดชอบโครงการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ …..ด้าน นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้กล่าวว่า โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เป็นนโยบายที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เสนอให้เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน จัดทำโครงการซึ่งมอบหมายให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นแม่ข่ายประสานงานในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการเสนอโครงการไปยังสกอ.จำนวน 15 โครงการและได้รับการพิจาณาแล้วพร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ต้องดำเนินตามประเภท ทั้งนี้ งานบริการวิชาการฯได้จัดทำข้อสรุปจำแนกประเภทโครงการตามข้อเสนอแนะจาก สกอ. ทั้งนี้ขอเน้นย้ำในเรื่องของรายละเอียดเพื่อขอการอนุมัติ…

งานบริการวิชาการฯเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นชอบแผน3 ระดับ นโยบายประเทศ พื้นที่ ลักษณะ

ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เปิดเผย การจัดทำแผนต้องเดินตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นสำคัญ …..เมื่อเวลา 13.00 น. (26 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัด (จ.สุราษฎร์ธานี) ณ ห้องประชุมนางยวน ศาลากลางจังหวัด  สุราษฎร์ธานี ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการปฏิบัติการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2561 …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยถึงข้อสรุปของการประชุมดังกล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ แผนประชาสัมพันธ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับนโยบายประเทศ ระดับพื้นที่ และระดับลักษณะความผันผวนตามสถานการณ์ ทั้งนี้มีรายละเอียดของแผนที่เดินตามแนวทางยุทธศาสตร์ประเทศและยุทธศาสตร์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงเป้าหมายของการพัฒนาในยุทธศาสตร์ที่ 9 ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12  เพื่อผลักดันให้นำไปสู่การปฏิบัติและใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ …..ต่อข้อซักถามเรื่องการดำเนินงานจัดทำแผนดังกล่าวของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดร.สมปราชญ์ ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีความพยายามอย่างยิ่งในการร่วมมือทุกรูปแบบกับหลากหลายองค์กร การจัดทำแผนระดับหน่วยงานต้องมีความสอดคล้องกับพันธกิจโดยมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างเครือข่ายทุกภาคส่วนและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนท้องถิ่นในทุกมิติ ในลักษณะของการร่วมมือจากเครือข่ายภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมวางแผนกำหนดทิศทางในการดำเนินงานตามเจตนารมย์ที่มหาวิทยาลัยได้ตั้งปณิธานไว้ว่ามหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินให้มีพลัง อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพเยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ จับมือคณะพยาบาลฯร่วมหารือแกนนำหมู่ 10 ขุนเล ตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ เห็นพ้องลงเสาเข็ม มกราคม 2561

ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เผยแม่งานพยาบาลไฟแรง เร่งจัดการเรียนการสอนจัดเต็มองค์ความรู้ สู่ชุมชนท้องถิ่น หวังยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยเหลือตนเองต่อไป …..เมื่อ 09.00 น. (26 ธันวาคม 2560) ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยผู้ช่วยคณบดีศูนย์สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและคณะ จากคณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคม หมู่ที่ 10 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อร่วมหารือกับแกนนำและผู้ประสานงานในหมู่บ้านดังกล่าว เรื่องการแนวทางในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุที่มหาวิทยาลัยจะมาดำเนินการร่วมกับทุกภาคส่วน …..เนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560 มีมติให้มีการสังเคราะห์หลักสูตร โดยคณะพยาบาลศาสตร์ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานในเขตพื้นที่ขุนทะเล อันได้แก่ เทศบาล,กศน.พระภิกษุ,อาจารย์ผู้เกษียณอายุราชการ,ปราชญ์ชาวบ้าน …..ดร.สมปราชญ์  วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เปิดเผยถึงการดำเนินงานว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ ได้ลงพื้นที่เพื่อร่วมหารือกับผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และแกนนำชุมชนหมู่ที่ 10 เพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุที่มหาวิทยาลัยจะมาดำเนินการร่วมกับทุกภาคส่วน ผลการหารือได้ข้อสรุปว่า มหาวิทยาลัยจะร่วมกับหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ม.10 และพื้นที่ใกล้เคียง โดยจะเริ่มดำเนินการเปิดการเรียนการสอนในเดือนมกราคม…

มรส.จัดประชุมเครือข่ายบริการวิชาการมุ่งแก้ปัญหาการจัดการน้ำ 8 มหาลัยฟันธงร่วมฝ่าวิกฤต น้ำท่วม น้ำเสีย และคุณภาพน้ำ

ปรึกษาอธิการบดี ชี้แนวทางปรากฏการณ์ “พี่ตูน BODYSLAM” เป้าหมายชัด – ประเมินตนเอง – มีหน่วยสนับสนุน – จิตจำนงบริสุทธิ์ – ยุทธวิธีเป็นขั้นตอน ด้าน ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ จี้ ปัญหาน้ำเสีย สุราษฎร์ฯกระทบหนัก ชูประเด็นเร่งแก้ ไว้ในแผนแม่บท …..เมื่อเวลา 09.00 น. (25 ธันวาคม 2560) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการจัดประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาไทย (ภาคใต้) และเสนอผลงาน เรื่อง การบริหารจัดการน้ำภาคใต้ ณ ห้องประชุมผดุงชาติ ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี ทั้งนี้ได้มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยในภาคใต้เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้น 8 แห่ง คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ พราหมณพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา…

มรส.ร่วมกับเทศบาลตำบลพุมเรียง หารือแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่แหลมโพธิ์ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ที่มีการจัดการอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

…..ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ร่วมกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยอาจารย์อนุรักษ์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนัก พร้อมด้วย ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ พราหมณพันธุ์ ประธานเครือข่ายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ในภารกิจที่จะเดินทางมาเป็นประธานการประชุมเครือข่ายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเขตภาคใต้ ได้หารือร่วมกับนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลพุมเรียง เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่แหลมโพธิ์ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ที่มีการจัดการอย่างเหมาะสมและยั่งยืน …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ เผยถึงผลสรุปของการหารือว่า แหลมโพธิ์เป็นพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวเชิง โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมประกอบกัน แต่ยังขาดแผนในการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จะเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงในการช่วยเหลือจัดทำแผนปฏิบัติการจากการระดมความคิดเห็นในวันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2560 เพื่อจะได้นำเสนอต่อภาคส่วนอื่นๆในการสร้างความยั่งยืนต่อไป …..ต่อข้อซักถามถึงแนวทางการมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นนั้น ผู้ช่วยอธิการบดีให้ข้อมูลว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์แนวทางเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้อง เราพร้อมที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกันกับท้องถิ่นตามที่ได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพเยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ฝ่ายบริการวิชาการฯร่วมกับชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มรส.ลงพื้นที่พัฒนาโรงเรียนบ้านพัฒนา

ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ร่วมกับชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ร่วมกันลงพื้นที่ไปยัง โรงเรียนบ้านพัฒนา อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อทำกิจกรรมพัฒนาในเฟทที่ 2 โดยเป็นการพัฒนาห้องเรียนอนุบาล และป้ายคำขวัญของโรงเรียน ในการนี้มีท่านผู้อำนวยการ และคณะครูคอยให้การต้อนรับและร่วมกันพัฒนาโรงเรียนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ผู้ช่วยอธิการบดีเปิดเผยว่า ในอนาคตโรงเรียนมีแนวความคิดที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้กับพี่น้องในท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดังนั้นจึงอาจเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย โรงเรียน และชุมชนท้องถิ่นได้ในอนาคตอันใกล้ ต่อข้อซักถามถึงแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยนั้น ผู้ช่วยอธิการบดียืนยันว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามในทุกมิติที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์แนวทางในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้อง เราพร้อมที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกันกับท้องถิ่นตามที่ได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ชีพจรลงเท้า ร่วมหารือเพื่อขยายผลผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผช.งานบริการฯ – หน.งานบริการฯ ย้ำชัดน้ำยาอเนกประสงค์ ไม่ไร้น้ำยาอย่างแน่นอน ชู UBI งัดช่องทางการตลาด  ขึ้นห้าง – โกอินเตอร์ พร้อมแจกกำลังใจให้ชาวชุมชนมั่นใจในมรส. เพราะขุนทะเลคือบ้านของราชภัฏสุราษฎร์ฯ เมื่อเวลา 13.00 น. (22 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ พร้อมด้วย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการวิชา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย และ ตัวแทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจหรือ UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยัง หมู่ที่ 3 ตำบลขุนทะเล ณ ศาลาประชาคม นอกจากนี้ ได้มีตัวแทนจากเทศบาลตำบลขุนทะเล โดยนางสาวมนสิชา สุวรรณภพ นักพัฒนาชุมชน ร่วมหารือ ติดตามและขยายผลผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนเป็นผู้ผลิตและจัดทำ คือ น้ำยาอเนกประสงค์ และ พริกไทยด้วย…

งานบริการวิชาการฯ เตรียมความพร้อม จัดประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยภาคใต้

มอ. เชื่อมั่น มรส.อลังการ ! เหมาะเป็นเจ้าภาพสถานที่ ประชุม – แถลงข่าว“การบริหารจัดการน้ำภาคใต้” ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เผย มรส.เป็นเจ้าภาพร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมเครือข่ายบริการวิชาการ    ให้ไปเป็นตามเป้า หวังช่วยเหลือและแก้ปัญหาการจัดการน้ำในภาคอีสาน เมื่อเวลา 09.00 น. (22 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษา (ภาคใต้) ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตัวแทนจากสำนักจัดการทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ ตัวแทนฝ่ายสื่อสารองค์กร ตัวแทนศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมระดมความคิดจัดรูปแบบการต้อนรับและเตรียมสถานที่ในการประชุมและแถลงข่าว พร้อมทั้งเยี่ยมชมสถานที่ที่เป็นอัตลักษณ์ และขึ้นชื่อของมหาวิทยาลัย เนื่องจากมติที่ประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษา (ภาคใต้)  มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มหาวิทยาลัยวลักษณ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นแม่ข่ายสำคัญที่จะสร้างโมเดลการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศ เพื่อนำโมเดลดังกล่าวไปใช้ในการจัดการน้ำในภาคอีสาน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในฐานะเจ้าภาพร่วมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูและและจัดเตรียมสถานที่ในการประชุมการบริหารจัดการน้ำภาคใต้ ในวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2560…

งานบริการวิชาการฯ นำทีมผู้ขับเคลื่อนโครงการสายใยรักฯ–เศรษฐกิจพอเพียง ติดตามผลการดำเนินงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ขุนเล

หน่วยงานร่วมเครือข่ายเครื่องร้อน เร่งขยายผลนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อแปรรูป หวังผลเพิ่มมูลค่า ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชนท้องถิ่นโดยเร็ว ด้านผู้ช่วยอธิการบดีฯย้ำ ราชภัฏสุราษฎร์ฯเป็นของชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 13.00 น (21 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์    วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและคณะ พร้อมทั้ง ผู้แทนจากศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI)     นำโดย คุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์ และผู้แทนจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการวิชา ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคม หมู่ที่ 2 ต.ขุนทะเล เพื่อติดตามและขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ได้มีแกนนำชุมชน นำโดยนายสุรินทร์ รักษ์เมือง ผู้ใหญ่บ้านและคณะ เข้าร่วมการหารือในการดำเนินงานดังกล่าวด้วย…..เนื่องมาจากผลการประชุมหารือในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ ผู้ดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งแกนนำหมู่บ้านในตำบลขุนทะเลทั้ง 10 หมู่…

End of content

End of content